info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft Asset Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0811/16550 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ
เลขที่หนังสือ กค 0811/16550 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0811/16550 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ
เลขที่หนังสือ กค 0811/16550 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ
ย้อนกลับ
เลขที่หนังสือ
: กค 0811/16550
วันที่
: 1 ธันวาคม 2541
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการโอนขายสิทธิตาม
สัญญาเช่าซื้อ
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 78(2), มาตรา 86
ข้อหารือ
: บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจการให้เช่าซื้อ และการให้เช่าแบบลิสซิ่ง กรณีสัญญาเช่าซื้อ หาก
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้ และบริษัทฯ ได้ออกใบกำกับภาษี ตามมาตรา 78 (2) และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามปกติ โดยบริษัทฯ ต้องเป็นผู้จ่ายชดเชยภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้เช่าซื้อในงวดที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระตาม
ข้อผูกพันในกฎหมายต่อมาหากมีบุคคลหรือนิติบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเข้ามารับโอนสิทธิของสัญญาเช่าซื้อนั้น โดย
เข้ารับโอนสิทธิภาระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ตั้งแต่งวดที่ค้างชำระจนจบสัญญา
ขอทราบว่าในกรณีนี้บริษัทฯ สามารถออกใบลดหนี้ ของงวดที่ผู้เช่าซื้อเดิมค้างชำระซึ่ง
บริษัทฯ ได้เป็นผู้จ่ายชดเชยภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยใบกำกับภาษีเดิมออกในนามของผู้เช่าซื้อเดิม และบริษัทฯ
จะออกใบกำกับภาษีใหม่ให้แก่ผู้รับโอนสิทธิในนามผู้รับโอนสิทธิซึ่งเป็นผู้ชำระค่างวดและภาษีมูลค่าเพิ่มของ
งวดที่ค้างชำระได้หรือไม่อย่างไร บริษัทฯ จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ บริษัทฯ จ่ายชดเชย
ภาษีมูลค่าเพิ่มแทนตามข้อผูกพันในกฎหมายในแบบ ค.10 ได้หรือไม่อย่างไร
แนววินิจฉัย
: 1. การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อให้ความรับผิดเกิดขึ้น เมื่อถึงกำหนดชำระราคาตาม
งวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ตามมาตรา 78 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ
ผู้ให้เช่าซื้อจึงต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อทุกครั้ง เมื่อถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ตามมาตรา 86
แห่งประมวลรัษฎากรถึงแม่ผู้เช่าซื้อไม่ได้ชำระราคาสินค้าตามงวดที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวดก็ตาม จึง
ไม่มีกรณีที่บริษัทฯ จะออกใบลดหนี้หรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ ได้ชำระแทนผู้เช่าซื้อดังกล่าวแต่
อย่างใด
2. กรณีมีการโอนขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้ซื้อได้รับโอนลูกหนี้เช่าซื้อจากบริษัทฯ
แล้ว ถือเป็นการซื้อขายขาดผู้ซื้อไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของลูกหนี้เช่าซื้อที่ค้างชำระค่างวดก่อน
ได้รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใด ไม่ว่าบริษัทฯ จะนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ลูกหนี้ค้างชำระ
ไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม
สำหรับผู้ซื้อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นสำหรับงวดที่ถึงกำหนดชำระ
ตั้งแต่วันได้รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นต้นไป ถึงแม้ลูกหนี้ผู้เช่าซื้อจะไม่ได้ชำระราคาสินค้าตามงวดที่
ถึงกำหนดชำระแต่ละงวดก็ตาม จึงไม่มีกรณีที่มี
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ซ้ำซ้อนแต่อย่างใด
เลขตู้
: 61/27321
ขอบคุณบทความจาก ::
https://www.rd.go.th
ประกาศบทความโดย ::
www.prosofterp.com
589
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com