info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft Asset Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0702/8757 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้ค่าป่วยการของอนุญาโตตุลาการ
เลขที่หนังสือ กค 0702/8757 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้ค่าป่วยการของอนุญาโตตุลาการ
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0702/8757 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้ค่าป่วยการของอนุญาโตตุลาการ
เลขที่หนังสือ กค 0702/8757 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้ค่าป่วยการของอนุญาโตตุลาการ
ย้อนกลับ
เลขที่หนังสือ
: 0702/8757
วันที่
: 29 กันยายน 2558
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้ค่าป่วยการของอนุญาโตตุลาการ
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 81/1 และมาตรา 82 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
นาย ก.ซึ่งมีเงินได้จากค่าป่วยการที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ และเงินได้จากการเป็นที่ปรึกษากฎหมาย โดยมีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 นาย ก.ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90) เป็นประจำทุกปี แต่มิได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่อย่างใด
1.นาย ก.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557 โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ แต่ได้โต้แย้งประเด็นค่าป่วยการจากการปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ว่าเงินได้ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการชดเชยค่าใช้จ่ายและค่าเสียเวลาที่เสียไปของอนุญาโตตุลาการมากกว่าเป็นสินจ้างหรือราคาค่าบริการในเชิงพาณิชย์ การที่จะให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากหน่วยงานด้านอนุญาโตตุลาการหรือให้หน่วยงานด้านอนุญาโตตุลาการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากคู่พิพาทซึ่งมีทั้งประชาชนพิพาทกับประชาชน หรือรัฐพิพาทกับประชาชนย่อมก่อให้เกิดภาระและอุปสรรคต่อการส่งเสริมและพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมด้านระงับข้อพิพาททางเลือก
แนววินิจฉัย
กรณี นาย ก.ได้รับเงินค่าป่วยการที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการและค่าที่ปรึกษา นั้น เงินได้ดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากค่าป่วยการที่อนุญาโตตุลาการและค่าวิชาชีพ ไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการว่าความหรือการว่าต่างแก้ต่างคดีความในศาล ที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา81 (1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อ นาย ก.ได้รับรายได้ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการและค่าที่ปรึกษาดังกล่าวเกิน 1,800,000 บาทต่อปี จึงมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการดังกล่าว ตามมาตรา 81/1 และมาตรา 82 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 78/39880
ขอบคุณบทความจาก ::
https://www.rd.go.th
468
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com