info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft Asset Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0702/5858 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีได้รับค่าสินไหมทดแทนจากอุทกภัยจากบริษัทประกันภัย
เลขที่หนังสือ กค 0702/5858 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีได้รับค่าสินไหมทดแทนจากอุทกภัยจากบริษัทประกันภัย
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0702/5858 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีได้รับค่าสินไหมทดแทนจากอุทกภัยจากบริษัทประกันภัย
เลขที่หนังสือ กค 0702/5858 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีได้รับค่าสินไหมทดแทนจากอุทกภัยจากบริษัทประกันภัย
ย้อนกลับ
เลขที่หนังสือ
: กค 0702/5858
วันที่
: 4 กรกฎาคม 2556
เรื่อง
: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีได้รับค่าสินไหมทดแทนจากอุทกภัยจากบริษัทประกันภัย
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
บริษัทฯ ได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย โดยมีข้อเท็จจริง ดังนี้
1. บริษัทฯ ได้ประสบอุทกภัยในปี 2554 มีทรัพย์สินได้รับความเสียหาย แต่บริษัทฯ ได้ทำประกันภัยทรัพย์สินไว้กับบริษัทประกันภัยเป็นเงินจำนวน 843,073,000 บาท บริษัทฯ ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนคืนจากบริษัทประกันภัยบางส่วน โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด ดังนี้
งวดที่ 1 ได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจำนวน 200,000,000 บาท
งวดที่ 2 ได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจำนวน 110,000,000 บาท
บริษัทฯ จึงขอทราบว่า เงินค่าสินไหมทดแทนบางส่วนที่ได้รับดังกล่าวต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย
กรณีตามข้อเท็จจริงพิจารณาได้ดังนี้
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทฯ ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนความเสียหายบางส่วนอันเนื่องมาจากอุทกภัยจำนวน 2 งวด จากบริษัทประกันภัยตามข้อเท็จจริงดังกล่าว การรับรู้ผลเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย บริษัทฯ ต้องรับรู้รายได้โดยใช้วิธีการทางเกณฑ์สิทธิ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทประกันภัยแจ้งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่บริษัทฯ หากบริษัทฯ ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากอุทกภัยในปี 2554 จากบริษัทประกันภัย ณ วันที่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว มากกว่าค่าความเสียหายของทรัพย์สินที่ทำประกันภัยไว้ เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ย่อมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 527) พ.ศ. 2554
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่บริษัทฯ ได้รับจากบริษัทประกันภัย ไม่เข้าลักษณะเป็นรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการตามมาตรา 77/1 (8) และมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่อย่างใด
เลขตู้
: 76/38695
ขอบคุณบทความจาก ::
https://www.rd.go.th
938
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com