info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft Asset Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0702/1789 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบการขอเครดิตภาษี
เลขที่หนังสือ กค 0702/1789 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบการขอเครดิตภาษี
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0702/1789 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบการขอเครดิตภาษี
เลขที่หนังสือ กค 0702/1789 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบการขอเครดิตภาษี
ย้อนกลับ
เลขที่หนังสือ
: กค 0702/1789
วันที่
: 5 มีนาคม 2553
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ประกอบการขอเครดิตภาษี
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 77/1(18) มาตรา 89(4) และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
1. บริษัทฯ ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 เดือนภาษีตุลาคม 2551 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2551 แสดงยอดซื้อเป็นจำนวน เงิน 212,203.12 บาท ภาษีซื้อเป็นจำนวนเงิน 14,854.22 บาท มีภาษีชำระไว้เกินและขอยกไปใช้ในเดือนถัดไปเป็นจำนวนเงิน 14,854.22 บาท จากการคัดค้นข้อมูลระบบงานภาษีมูลค่าเพิ่มพบว่า บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.พ.30 โดย มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต่อมาบริษัทฯ ได้มีหนังสือลงวันที่ 4 มีนาคม 2552 ชี้แจงว่ามิได้มีเจตนากระทำความผิดและบริษัทฯไม่ได้ ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 อีกต่อไปแล้ว
แนววินิจฉัย
1. กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ มิได้เป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ ถูก ผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิขอคืนหรือนำไป เครดิตออกจากภาษีขายได้ เนื่องจากไม่เข้าลักษณะ เป็นภาษีซื้อตามมาตรา 77/1(18) แห่งประมวลรัษฎากร การที่บริษัทฯ แสดงรายการใน แบบ ภ.พ.30 เดือนภาษีตุลาคม 2551 โดยแสดงรายการจำนวนภาษีซื้อไว้และขอนำภาษีที่ชำระไว้เกินดังกล่าวไปใช้ในเดือนภาษีถัดไป จึง เป็นกรณียื่นแบบแสดง รายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ต้องเสียเบี้ยปรับ อีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป ตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ตาม มาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
2. กรณีเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ บริษัทฯ จะต้องรับผิด ตาม 1. อาจพิจารณางดหรือลดได้ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ การงดหรือลดเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มและ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่ง ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการ เกี่ยวกับการพิจารณา งดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545
เลขตู้
: 73/37176
ขอบคุณบทความจาก :
:
www.rd.go.th
408
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com