info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft Asset Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0702/พ./2390 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีซื้อจากการโอนเงินค่าเสียหายไปต่างประเทศ
เลขที่หนังสือ กค 0702/พ./2390 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีซื้อจากการโอนเงินค่าเสียหายไปต่างประเทศ
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0702/พ./2390 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีซื้อจากการโอนเงินค่าเสียหายไปต่างประเทศ
เลขที่หนังสือ กค 0702/พ./2390 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีซื้อจากการโอนเงินค่าเสียหายไปต่างประเทศ
ย้อนกลับ
เลขที่หนังสือ
: กค 0702/พ./2390
วันที่
: 16 พฤษภาคม 2551
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีซื้อจากการโอนเงินค่าเสียหายไปต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 82/3 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
บริษัทฯ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดำเนินกิจการให้บริการรับเหมาติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล และระบบดับเพลิง ในประเทศไทย บริษัทฯ ได้ชำระเงินไปต่างประเทศให้กับบริษัท สิงคโปร์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเทศสิงคโปร์ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เป็นค่าชดเชยความเสียหายจากการทำซ้ำ และใช้งานวรรณกรรมประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ "ออโต้แคด" ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า บริษัทฯ จะมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่ และหากบริษัทฯ ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ จะมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งมาเป็นภาษีซื้อเพื่อเครดิตออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
กรณีที่บริษัทฯ ชำระเงินให้กับบริษัทสิงคโปร์ เป็นค่าชดเชยความเสียหายจากการทำซ้ำและใช้งานวรรณกรรมฯ ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์โดยมิได้รับอนุญาต นั้น หากมิได้เป็นการจ่ายตามคำพิพากษาของศาลที่สั่งให้จ่ายเป็นค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ การจ่ายเงินค่าเสียหายดังกล่าวถือว่า เป็นการจ่ายค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเป็นการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการดังกล่าว มาเป็นภาษีซื้อในการคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 71/35860
ขอบคุณบทความจาก :
:
www.rd.go.th
586
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com