info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft Asset Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0702/371 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษี
เลขที่หนังสือ กค 0702/371 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษี
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0702/371 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษี
เลขที่หนังสือ กค 0702/371 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษี
ย้อนกลับ
เลขที่หนังสือ
: กค 0702/371
วันที่
: 4 มีนาคม 2551
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษี
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 82/5(6) มาตรา 86 มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 42)ฯ
ข้อหารือ
บริษัท ค. (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อสินค้า และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพิมพ์ของใบกำกับภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และเพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการจัดส่งทางไปรษณีย์ พร้อมทั้งป้องกันการแก้ไขให้เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด กล่าวคือ เมื่อพิมพ์ออกจากระบบแล้วสามารถจัดส่งผ่านทางไปรษณีย์ได้ทันที แต่ทั้งนี้ข้อมูลบนใบกำกับภาษีของลูกค้าถือเป็นข้อมูล ส่วนตัวมิอาจเปิดเผยได้ จึงต้องมีการปกปิดรายการอยู่ด้านบนก่อน แต่เนื่องจากด้วยข้อจำกัดทางเทคนิคของกระดาษและ การพิมพ์ในปัจจุบัน จึงไม่สามารถพิมพ์ทะลุผ่านใบปกปิดได้โดยไม่มีกระดาษคาร์บอน จึงทำให้ต้นฉบับใบกำกับภาษีที่ให้กับ ลูกค้า (ใบที่ 3) ดูเสมือนว่าไม่ได้พิมพ์จากหัวพิมพ์ของเครื่องโดยตรง หากแต่เจตนาบริษัทฯ ต้องการให้เป็นต้นฉบับ ส่วนใบ ที่ 1 และใบที่ 2 ทางบริษัทฯ ใช้เป็นสำเนาใบกำกับภาษี เพื่อประกอบการจัดทำรายงานภาษีขายและบันทึกบัญชี ซึ่งจะเป็นดังนี้
ใบที่ 1 ใช้เป็นสำเนาใบกำกับภาษี
ใบที่ 2 ใช้เป็นสำเนาใบกำกับภาษี ใบที่ 2
ใบที่ 3 ต้นฉบับใบกำกับภาษี
บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
1. ลักษณะใบกำกับภาษีของบริษัทฯ ไม่สอดคล้องกับกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
2. บริษัทฯ ขอความอนุเคราะห์ให้สามารถใช้ใบกำกับภาษีตามแบบฟอร์มดังกล่าว ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
บริษัทฯ ต้องจัดทำใบกำกับภาษี และสำเนาใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันที ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใบกำกับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อย ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หากบริษัทฯ จัดทำ ใบกำกับภาษี ตาม มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) ภาษีซื้อตาม ใบกำกับภาษี ดังกล่าว เป็นภาษีซื้อต้องห้ามมิให้นำไปหักภาษีขาย ตามข้อ 2(7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535
เลขตู้
: 71/35665
ขอบคุณบทความจาก :
:
www.rd.go.th
523
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com