• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.02)/976 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการตรวจคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10)

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.02)/976 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการตรวจคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10)

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.02)/976 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการตรวจคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10)

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.02)/976 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการตรวจคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10)

เลขที่หนังสือ : กค 0706(กม.02)/976
วันที่ : 20 ตุลาคม 2548
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการตรวจคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10)
ข้อกฎหมาย : มาตรา 27 ตรี มาตรา 39 มาตรา 40(1) มาตรา 63 และมาตรา 65(12)(13)
ข้อหารือ : ด้วยศูนย์ บ. หารือเกี่ยวกับการตรวจคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามคำร้องขอคืนภาษีอากร (แบบ ค.10) ราย บริษัท ส. โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้
บริษัท ส. ได้ว่าจ้าง นาย ว. เป็นพนักงานขับรถในอัตราเงินเดือน ๆ ละ5,400.- บาท ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2542 ต่อมาในวันที่ 27 เมษายน 2542บริษัทฯ บันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ผิดพลาด ทำให้นาย ว. ได้รับเงินเดือนจำนวน
533,400.- บาท ซึ่งเป็นเงินเดือนที่เกินกว่าที่ควรจะได้รับจริง เมื่อหักภาษี ณ ที่จ่ายจำนวน 145,200.- บาท และเงินประกันสังคมจำนวน 300.- บาท แล้ว นาย ว.ได้รับเงินเดือนสุทธิฯ จำนวน 387,900.- บาท โดยบริษัทฯ ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินเดือนที่นาย ว. ได้รับจำนวน 533,400.- บาท เป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 145,200.- บาท เมื่อนาย ว. ได้รับเงินเดือนดังกล่าวแล้วได้หลบหนีไป บริษัทฯ ได้แจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับนาย ว. เมื่อวันที่ 22พฤษภาคม 2542 และศาลได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 ให้นาย ว.คืนเงินเต็มจำนวนและพิพากษาจำคุก 1 ปี 6 เดือน แต่ให้รอการลงอาญา 2 ปี จากกรณีดังกล่าวบริษัทฯ เห็นว่า นาย ว. เพิ่งมาทำงานได้ 2 เดือน ไม่น่าจะยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 หรือแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.91 เพื่อขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินเดือนที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่นาย ว. นั้น ควรเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ เพียง 5,400.- บาท บริษัทฯ จึงยื่นแบบ ค.10 เพื่อขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 145,200.- บาท
แนววินิจฉัย : 1. ค่าใช้จ่ายเงินเดือนของนาย ว.
กรณีพนักงานฯ ได้รับเงินเดือนซึ่งเป็นเงินเดือนเกินกว่าจำนวนที่ควรได้รับจริงจากบริษัทฯ แล้วไม่นำส่งมอบคืนให้บริษัทฯ โดยเมื่อได้รับเงินแล้วได้หลบหนีไปถือเป็นการเบียดบังนำเงินเดือนส่วนที่เกินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเป็นผล
เสียหายต่อกิจการของบริษัทฯ ซึ่งเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่นาย ว. ควรจะได้รับจริงในแต่ละเดือนจึงจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากสัญญาจ้างแรงงานของนาย ว. ต่อมานาย ว. ได้รับเงินได้
พึงประเมินจากการยักยอกเงินของบริษัทฯ จึงถือว่า เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามคำนิยามของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร นาย ว. ต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วย ดังนั้น กรณีรายจ่ายในการ
คำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ในกรณีดังกล่าวจึงแยกพิจารณาได้ดังนี้
1.1 กรณีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของนาย ว. ที่บริษัทฯ จ่ายให้เนื่องจากการจ้างแรงงานในแต่ละเดือนตามปกติ บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี
(13) แห่งประมวลรัษฎากร
1.2 กรณีค่าใช้จ่ายค่าจ้างแรงงานในส่วนที่จ่ายเกินไปให้แก่นาย ว. หากบริษัทฯ ไม่มีประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ และบริษัทฯ มีหลักฐานแสดงได้ว่าความเสียหายดังกล่าวได้เกิดขึ้นจริงบริษัทฯ สามารถนำผลเสียหายดังกล่าวมาถือ
เป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ความเสียหายเกิดขึ้นได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เมื่อบริษัทฯ ได้รับเงินที่ถูกยักยอกไปคืนมาเมื่อใดจะต้องถือเป็นรายได้ของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
2. ผู้มีสิทธิขอคืนภาษี
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้เสียภาษีเกินไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย เนื่องจากผู้จ่ายเงินได้ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกินไป หรือหักภาษีไว้โดยไม่มีหน้าที่ต้องหักหรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีเกินไปโดยความเข้าใจผิด หรือคำนวณภาษีเกินไป
กว่าจำนวนที่ต้องเสีย เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้มีสิทธิขอคืนหมายความว่า
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีซึ่งได้ชำระภาษีอากรไว้เกิน หรือผิด หรือซ้ำ
(2) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกิน และหรือมีภาษีเกินเนื่องจากได้รับการเครดิตภาษี
(3) ผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีแต่ชำระภาษีไว้ หรือถูกหักภาษีไว้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ
(4) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ที่นำเงินของตนเองส่งภาษีไว้ผิดหรือซ้ำ
(5) ผู้เสียประโยชน์จากการชำระหรือนำส่งภาษีไว้เกินหรือผิดหรือซ้ำ หรือโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียในการขอคืนเงินภาษีอาจมีปัญหาว่า ผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิขอคืนเงินภาษีที่ถูกหักไว้เกินนั้น กล่าวคือ ผู้จ่ายเงินได้หรือผู้มีเงินได้ที่ถูกหักภาษีไว้ ปัญหานี้เมื่อพิจารณาตามสิทธิของบุคคลที่จะพึงได้รับเงินคืนแล้วน่าจะต้องเป็นตัวผู้มีเงินได้ที่ถูกหักภาษีไว้เพราะเป็นผู้ถูกกระทบกระเทือนสิทธิโดยตรงจึงมีสิทธิเรียกร้องขอเงินคืนส่วนนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินเป็นเพียงผู้จ่ายเงินได้เท่านั้นไม่มีข้อผูกพันกับเงินได้ที่หักและนำส่งไว้แล้ว ฉะนั้น ถ้าหากนายจ้างจะขอคืนก็จะต้องได้รับมอบอำนาจจากตัวผู้มีเงินได้จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย เว้นแต่ กรณีนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้นำเงินของตนส่งไว้เกิน ส่งผิดหรือส่งซ้ำซึ่งนายจ้างย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนเงินได้เองกรณีตามข้อเท็จจริง เงินเดือนที่นาย ว. ได้รับเมื่อคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งแต่อย่างใด การที่บริษัทฯ ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งโดยออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเดือนรวมทั้งส่วนที่ได้รับเกินกว่าที่ควรจะได้รับจริงจากบริษัทฯ นั้น ถือว่า บริษัทฯ ได้นำเงินของตนส่งไว้เกิน และข้อเท็จจริงได้ความว่าบริษัทฯ ฟ้องนาย ว. ในกรณีเบียดบังนำเงินเดือนส่วนที่เกินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้นาย ว. คืนเงินเต็มจำนวน โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาย ว. ได้คืนเงินให้บริษัทฯ แล้วหรือไม่ กรณีถือได้ว่า บริษัทฯ เป็นผู้เสียประโยชน์โดยตรงจากการนำส่งภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย บริษัทฯ จึงมีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวได้ในนามของบริษัทฯ เฉพาะในส่วนที่บริษัทฯ ได้จ่ายเกินให้แก่นาย ว. เท่านั้น โดยให้ยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 68/33638


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 541
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์