• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/00680 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีรับจ้างตัดเย็บกระเป๋าหนังเทียม

เลขที่หนังสือ กค 0811/00680 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีรับจ้างตัดเย็บกระเป๋าหนังเทียม

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/00680 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีรับจ้างตัดเย็บกระเป๋าหนังเทียม

เลขที่หนังสือ กค 0811/00680 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีรับจ้างตัดเย็บกระเป๋าหนังเทียม

เลขที่หนังสือ : กค 0811/00680
วันที่ : 25 มกราคม 2542
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีรับจ้างตัดเย็บกระเป๋าหนังเทียม
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(2), มาตรา 50(1)
ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายต้นคริสมาสต์เถาวัลย์ประดิษฐ์และกระเป๋า โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุน และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างครบถ้วนมาโดยตลอด นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้สนองนโยบายของภาครัฐบาลในการกระจายการจ้างงานเพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น โดยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการก่อตั้งศูนย์หัตถอุตสาหกรรมในจังหวัดต่าง ๆ และได้ว่าจ้างชาวบ้านหรือเกษตรกรในท้องถิ่นซึ่งว่างเว้นจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเป็นสมาชิกของศูนย์หัตถอุตสาหกรรมทำการตัดเย็บกระเป๋าหนังเทียม ในการว่าจ้างดังกล่าว บริษัทฯ จะเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะทำการตัดเย็บ รวมทั้งการให้ยืมเครื่องจักรและอุปกรณ์การทำงานให้ทั้งหมด ชาวบ้านหรือเกษตรกรผู้รับจ้างมีหน้าที่เพียงตัดเย็บชิ้นส่วนต่าง ๆ ของกระเป๋าให้เป็นไปตามแบบที่ทางบริษัทฯ ได้มีการออกแบบและมีชิ้นส่วนตัวอย่าง ตลอดจนการสาธิตให้ดูแล้ว และจะมีชาวบ้านหรือเกษตรกรอีกส่วนมีหน้าที่ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของกระเป๋าให้เป็นไปตามรูปทรงตามที่บริษัทฯ ได้มีการออกแบบและสาธิต โดยชาวบ้านหรือเกษตรกรผู้รับจ้างจะทำงานดังกล่าว ที่อาคารศูนย์หัตถอุตสาหกรรมหรือจะนำไปทำที่บ้านก็ได้ ในการจ่ายค่าตอบแทนบริษัทฯ จะจ่ายค่าตอบแทนให้เกษตรกรผู้รับจ้างตามจำนวนงานที่ทำเสร็จ ทั้งนี้ ชาวบ้านที่มารับจ้างจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนบ้าง จึงไม่อาจทราบจำนวนคราวที่บริษัทฯ จะต้องจ่ายให้ชาวบ้านหรือเกษตรกรผู้รับจ้างแต่ละคนเป็นการ
แน่นอนขอทราบว่าค่าตอบแทนที่จ่ายให้ตามสัญญาจ้างดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด บริษัทฯ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่อย่างไร
แนววินิจฉัย : กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว บริษัทฯ ได้ว่าจ้างชาวบ้านหรือเกษตรกรให้ตัดเย็บกระเป๋าหนังเทียมโดยบริษัทฯ จะเป็นผู้จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ทั้งหมด ชาวบ้านหรือเกษตรกรจะได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนผลงานที่แต่ละคนทำเสร็จ และบริษัทฯ ได้จ่ายค่าจ้างให้แต่ละคนโดยตรง กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินเนื่องจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากรบริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 62/27454


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 397
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores