• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/134 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขายสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุน

เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/134 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขายสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุน

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/134 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขายสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุน

เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/134 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขายสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุน

เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม)/134
วันที่ : 29 มกราคม 2542
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขายสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุน
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ทวิ (4), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541 ฯ
ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตอาหารทะเลแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก ทุก ๆ ปี บริษัทฯ จะมีสินค้าคงเหลือค้างสต็อกเป็นจำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยสินค้าเหลือจากการส่งออกสินค้าไม่ได้มาตรฐานสินค้าใกล้หมดอายุ พร้อมทั้งบรรจุภัณฑ์ และวัตถุดิบที่ไม่สามารถใช้ในการผลิต เนื่องจากมีการเปลี่ยนสูตรการผลิต เปลี่ยนรูปแบบ โดยปกติในปีที่ผ่าน ๆ มา บริษัทฯ จะทำหนังสือแจ้งขอทำลายสินค้าเหล่านี้ต่อกรมสรรพากร พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้สอบบัญชีเข้าสังเกตการณ์ด้วย การทำลายสินค้าดังกล่าวจะใช้วิธีฝังดินและเผาทิ้ง แต่สำหรับในปีนี้บริษัทฯ ประสงค์จะขายสินค้าใกล้หมดอายุ สินค้าหมดอายุ สินค้าที่เหลือจากการส่งออก สินค้าไม่ได้มาตรฐาน และวัตถุดิบที่นำไปใช้ผลิตไม่ได้แล้ว โดยขายในราคาต่ำกว่าราคา
ต้นทุน และขายบรรจุภัณฑ์ที่มีตำหนิไม่ใช้แล้วให้กับโรงงานต่าง ๆ ในราคาต่ำกว่าต้นทุนเพื่อนำไปรีไซเคิลพร้อมทั้งทำหนังสือแจ้งขอทำลายสินค้าตามวิธีดังกล่าวต่อสรรพากรจังหวัด และผู้สอบบัญชีให้เข้าสังเกตการณ์ จึงขอทราบว่า
1. การทำลายสินค้าโดยวิธีการขายดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ สามารถปฏิบัติได้หรือไม่
2. หากปฏิบัติได้ วิธีที่แจ้งไว้ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร
3. หากปฏิบัติไม่ได้ บริษัทฯ ควรทำอย่างไร จึงจะสามารถขายสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุนได้
4. ทางบริษัทฯ มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น บริษัทสอบบัญชีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย ซึ่งบริษัทฯ เป็นสมาชิกอยู่เป็นผู้รับรอง กรมสรรพากรจะยอมรับหรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. การลงบัญชีต้นทุนหรือตัดรายจ่ายของ “ของเสียตามปกติ” ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนของผลิตภัณฑ์หน่วยที่ดีด้วย ส่วน “ของเสียเกินปกติ” ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตสินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุและเศษซากหากบริษัทฯประสงค์จะทำลายสินค้าดังกล่าว โดยสามารถตัดเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำลายนั้นได้ บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541เรื่อง แนวทางปฏิบัติกรณีการทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยมสินค้าที่หมดอายุและเศษซาก ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
2. กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ประสงค์จะขายสินค้าใกล้หมดอายุ สินค้าหมดอายุ สินค้าที่เหลือจากการส่งออก สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน วัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ที่มีตำหนิไม่สามารถนำไปใช้ในการผลิต โดยขายในราคาต่ำกว่าต้นทุน ซึ่งมิใช่เป็นการทำลายสินค้า แต่เป็นการโอนทรัพย์สิน โดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด หากได้มีการตรวจสอบสภาพสินค้าตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนดไว้ และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าใกล้หมดอายุ หมดอายุ ไม่ได้มาตรฐาน หรือเศษซากดังกล่าว พร้อมทั้งจะต้องมีบุคคลร่วมสังเกตการณ์ ประกอบด้วยฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายบัญชี โดยลงลายมือชื่อเป็นพยานในการขาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี และได้ขายสินค้าไปในราคาต่ำ
กว่าต้นทุน ถือได้ว่าบริษัทฯ โอนทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด โดยมีเหตุอันสมควรไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับรองอีกแต่ประการใด
เลขตู้ : 62/27442


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 1317
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores