• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/พ.012 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจัดทำบัญชี รายงานภาษีซื้อ และการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/พ.012 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจัดทำบัญชี รายงานภาษีซื้อ และการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/พ.012 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจัดทำบัญชี รายงานภาษีซื้อ และการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/พ.012 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจัดทำบัญชี รายงานภาษีซื้อ และการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม)/พ.012
วันที่ : 7 มกราคม 2542
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจัดทำบัญชี รายงานภาษีซื้อ และการหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (6 ทวิ), มาตรา 82/5(4), มาตรา 87, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2534 ฯ, และ (ฉบับที่ 42) พ.ศ. 2535 ฯ, พระราชกฤษฎีกาฯ
(ฉบับที่ 243) พ.ศ. 2534
ข้อหารือ : 1. ห้างฯ มีสำนักงานสาขาจำนวนหลายสาขา โดยสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้จัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ค่าเครื่องใช้สำนักงาน สินค้าประกอบการขาย ค่ารับรอง และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้กับสำนักงานสาขาห้างฯ จะจัดทำบัญชีเงินสด บัญชีแยกประเภท รายงานสินค้าและวัตถุดิบ และรายงานภาษีซื้อ ที่สำนักงานใหญ่แห่งเดียวโดยไม่แยกจัดทำเป็นรายสาขาได้หรือไม่ อย่างไร และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งห้างฯ ไม่มีความประสงค์จะขอคืนภาษีในแต่ละเดือน ห้างฯ จะจัดทำบัญชีอย่างไร
2. ภาษีซื้อที่ห้างฯ ได้ถูกเรียกเก็บ แต่ห้างฯ ไม่มีความประสงค์จะขอคืนภาษีในแต่ละเดือนภาษีซื้อดังกล่าวห้างฯ จะนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตอนสิ้นปีได้เต็มจำนวนหรือไม่3. ค่าใช้จ่ายของห้างฯ ที่ผู้ขายออกใบรับที่ระบุว่า “สด” โดยไม่มีชื่อที่อยู่ของห้างฯ ห้างฯจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. กรณีตามข้อ 1.
(1) การจัดทำบัญชีต่าง ๆ ห้างฯ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) เรื่องกำหนดธุรกิจที่ต้องจัดทำบัญชี ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 และประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่16(พ.ศ. 2532) ทั้งนี้ ให้ห้างฯ สอบถามโดยตรงไปยังกระทรวงพาณิชย์
(2) การจัดทำรายงานภาษีซื้อ ถ้าห้างฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ห้างฯ มีหน้าที่จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (เฉพาะการประกอบกิจการขายสินค้า) เป็นรายสถานประกอบการ ตามมาตรา 87 วรรคหนึ่งและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรดังนั้น ห้างฯ จะจัดทำรายงานภาษีซื้อของสำนักงานสาขารวมอยู่ที่สำนักงานใหญ่ไม่ได้การลงรายการค่าใช้จ่ายในรายงานภาษีซื้อ ให้ลงรายการเฉพาะค่าใช้จ่ายที่มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปทุกฉบับ รวมทั้งใบกำกับภาษีซึ่งไม่สามารถนำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากรด้วย โดยให้หมายเหตุว่าเป็นรายการที่ไม่สามารถนำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่
22) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 37)ฯ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
2. กรณีตามข้อ 2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภาษีซื้อที่ห้างฯ ถูกเรียกเก็บแม้ห้างฯ จะไม่นำไปหักในการคำนวณภาษี หรือไม่ได้ขอคืนภาษีซื้อดังกล่าว ห้างฯ จะนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้ เพราะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ)แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่เป็นภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามมาตรา 82/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร หรือภาษีซื้อตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ลงวันที่29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 243) พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ ตามมาตรา 65
ตรี (6 ทวิ) ตอนท้าย แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีตามข้อ 3. ห้างฯ มีรายจ่าย แต่ได้รับใบรับที่ระบุว่า “สด” ไม่ระบุชื่อที่อยู่ของห้างฯ เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ห้างฯ จะนำรายจ่ายตามใบรับดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้
เลขตู้ : 62/27408


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 658
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores