• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/15588ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่านายหน้าให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

เลขที่หนังสือ กค 0811/15588ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่านายหน้าให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/15588ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่านายหน้าให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

เลขที่หนังสือ กค 0811/15588ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่านายหน้าให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

เลขที่หนังสือ : กค 0811/15588
วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่านายหน้าให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
ข้อกฎหมาย : มาตรา41, มาตรา50 (1), มาตรา70, มาตรา76 ทวิ, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505
ข้อหารือ : บริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าในการขายสินค้าให้กับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทย และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลดังกล่าวมีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศมาเลเซีย และฮ่องกง บริษัทฯ จะมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย : 1. กรณีที่บริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีถิ่นที่อยู่ ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศมาเลเซียเนื่องจากค่านายหน้าเข้าลักษณะเป็นกำไรจากธุรกิจ ดังนั้น กรณีที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับค่านายหน้า มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย จึงอาจพิจารณาภาระภาษีได้ดังนี้
(ก) กรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว มิได้ประกอบกิจการโดยผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในประเทศไทย ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศมาเลเซียเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อนแล้วแต่กรณี และตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ฉะนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แต่อย่างใดอย่างไรก็ดี สำหรับกรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องไม่ถูกจำกัดสิทธิประโยชน์ในการใช้อนุสัญญาฯ ตามข้อ 18 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนด้วย
(ข) กรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว ประกอบกิจการโดยผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย แยกพิจารณาได้ดังนี้
- บุคคลธรรมดาดังกล่าว มีหน้าที่ต้องนำค่านายหน้าที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และโดยที่ค่านายหน้าดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าให้แก่บุคคลธรรมดาดังกล่าวบริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
- นิติบุคคลดังกล่าว มีหน้าที่ต้องนำค่านายหน้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าให้กับบริษัทดังกล่าว บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
2. กรณีบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในฮ่องกง
(ก) กรณีที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยเนื่องจากค่านายหน้าเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากรดังนั้น เมื่อบริษัทฯจ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (1) วรรคสี่ และมาตรา70 แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นนายหน้าดังกล่าว ประกอบกิจการในประเทศไทยกรณีดังกล่าวจะมีภาระภาษีเช่นเดียวกับ 1. (ข)
เลขตู้ : 61/27248


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 703
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores