• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/14782ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0811/14782ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/14782ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0811/14782ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ : กค 0811/14782
วันที่ : 16 ตุลาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย : มาตรา65 ทวิ (5), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯ
ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเพียงอย่างเดียว โดยมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ในงวดบัญชีประจำปี 2540 หลังจากที่บริษัทฯ ได้นำส่งงบการเงินและแบบแสดงรายการภาษีเงินได้(ภ.ง.ด.50) ต่อกรมสรรพากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ทำการตรวจสอบรายการบัญชีอีกครั้งหนึ่ง พบว่าบริษัทฯ มิได้ทำการปรับปรุงค่าหรือราคาของทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเงินตราไทย ณ วันสิ้นงวดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฎากร โดยในงบการเงินยังคงบันทึกบัญชีไว้โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท ณ วันที่เกิดรายการดังตัวอย่าง เช่น บัญชีเงินกู้ยืมระยะยาวต่างประเทศ ซึ่งได้บันทึกไว้ในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 1,400,000USDบริษัทฯ บันทึกบัญชีไว้เป็นจำนวนเงิน 35,280,000 บาท (คำนวณโดย 1,400,000 USDคูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการกู้ยืมในอัตรา 1 USD = 25.20 บาท) ที่ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีและตามประมวลรัษฎากรควรบันทึกเป็นจำนวนเงิน 66,578,400 บาท (คำนวณโดย1,400,000 USD คูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 อัตราแลกเปลี่ยน 1 USD =47.566 บาท)
ดังนั้น ผลจากการปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องจะทำให้เกิดบัญชีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ณวันที่ 31 ธันวาคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 31,298,400 บาท ซึ่งบริษัทฯ ยังมิได้ดำเนินการปรับปรุงบัญชีแต่อย่างใดทั้งสิ้น จึงหารือดังต่อไปนี้
1. ตามตัวอย่างเงินกู้ยืมดังกล่าวข้างต้นมียอดเงินคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540เป็นเงิน 1,400,000 USD มีงวดการชำระเงินต้นคืนทุก 6 เดือน เป็นเงินงวดละ 200,000 USD แต่ในงวดบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 บริษัทฯ มิได้ปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรา 65 ทวิ(5) วรรคหนึ่ง จึงขาดรายการบัญชีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นในงวดบัญชีดังกล่าว ดังนั้นบริษัทฯ จึงขอทำการบันทึกบัญชีกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนตามงวดการชำระคืนเงินต้น ซึ่งจะถือปฏิบัติตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง โดยจะขอยกเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรา 65 ทวิ(5) วรรคหนึ่ง สำหรับงวดบัญชีประจำปี 2540 จะได้หรือไม่
2. หากคำขอในข้อ 1 มิได้รับการอนุมัติ แนวทางการแก้ไขให้ถูกต้องคือบริษัทฯ จะต้องจัดการแก้ไขงบการเงินประจำปี 2540 ให้ถูกต้อง และส่งมอบให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทำการตรวจสอบและลงนามรับรองงบการเงิน เพื่อใช้เป็นหลักฐานยื่นร่วมกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50)เพื่อยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อกรมสรรพากร จะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือไม่
3. ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เกิดขึ้นตามข้อ 2 บริษัทฯ จะยังสามารถใช้สิทธิเลือกปฏิบัติ โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายตามกฎเกณฑ์ในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2540 ข้อ 2และข้อ 3 จะยังคงได้รับสิทธิอยู่หรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. กรณีตาม 1. บริษัทฯ มีหนี้สินคงเหลือ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 31 ธันวาคม2540 เป็นเงินตราต่างประเทศจึงต้องคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ผลของการคำนวณถ้ามีผลขาดทุนจากการตีราคาหนี้สินดังกล่าว ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ทั้งจำนวน ตามข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณรายได้ และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และเมื่อบริษัทฯชำระคืนเงินต้นในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี จะต้องคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่ชำระหนี้นั้นตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง
แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
2. กรณีตาม 2. หากบริษัทฯ มิได้ปฏิบัติตาม 1. บริษัทฯ จะต้องดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) แก้ไขเพิ่มเติม ภ.ง.ด.50 ประจำปี 2540 ให้ถูกต้องต่อไป3. กรณีตาม
3. บริษัทฯ มีรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31
ธันวาคม ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีสิทธินำผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการตีราคาหนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 31 ธันวาคม 2540 ตาม 1. ซึ่งเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่มีการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 มาเลือกคำนวณเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 2 และข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก็ได้
เลขตู้ : 61/27174


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 612
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores