มาดูอีก 1 ของขวัญที่น่าสนใจสำหรับการบอกรักแฟนในวันวาเลนไทน์นี้ นั่นก็คือ การเปิดบัญชีคู่ ค่า สำหรับการเปิดบัญชีคู่ ในที่นี้หมายถึง การเปิดบัญชีธนาคารร่วมกัน เราไปดูกันว่า จะสามารถเปิดบัญชีคู่ยังไง? เงื่อนไขการเปิดบัญชีคู่มีอะไรบ้าง? และมีกี่แบบ?
การเปิดบัญชีคู่ คืออะไร ?
การเปิดบัญชีคู่ คือการเปิดบัญชีออมทรัพย์ ฝากประจำ หรือกองทุน ที่ทั้ง สองฝ่ายเป็นเจ้าของร่วมกัน หรือเพื่อเป็นเงินกองกลางของครอบครัว ตั้งแต่เสียค่าน้ำค่าไฟ ค่าซื้อของใช้เข้าบ้าน ซื้อรถคันใหม่ ดาวน์บ้านหลังใหม่ รวมถึงค่าอาหารการกิน เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเปิดได้แค่ บัญชีออมทรัพย์แบบทั่วไป เท่านั้น โดยบัญชีคู่เป็นบัญชีที่มีชื่อเจ้าของบัญชีร่วมกัน และมีสิทธิในการจัดการเงินในบัญชีอย่างเท่าเทียมกันด้วยค่ะ
ประเภทของบัญชีคู่
สำหรับการเปิดบัญชีคู่โดยทั่วไปจะมี 4 แบบ คือ และ, หรือ, เพื่อ, โดย แต่ส่วนใหญ่คู่รักที่เปิดบัญชีร่วมกันจะใช้ “และ” ค่ะ
บัญชีคู่กรณี “และ” คือ บัญชีที่ต้องรับรู้และเซ็นเอกสารพร้อมกันทั้งสองคนทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการเปิด-ปิดบัญชี หรือการถอนเงิน เว้นแต่การฝากเงินสามารถดำเนินการเพียงคนใดคนหนึ่งได้
บัญชีคู่กรณี “หรือ” บัญชีคู่กรณี “หรือ” คือ บัญชีที่สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับบัญชีเพียงคนใดคนหนึ่งได้ เช่น การถอนเงิน ยกเว้นกรณีเดียวที่ต้องเซ็นร่วมกันทั้ง 2 คน ก็คือ ตอนเปิด และปิดบัญชีนี้ค่ะ
เปิดบัญชีคู่ ร่วมกับใครได้บ้าง ?
ไม่ว่าจะเป็น ใครก็สามารถเปิดบัญชีคู่ร่วมกันได้ เพียงแค่คุณพึงพอใจที่จะเปิดบัญชีคู่ร่วมกันค่ะ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ญาติพี่น้องทั้งหลาย สามีภรรยาที่จดทะเบียนและยังไม่จดทะเบียน หรือแม้แต่เป็นแฟนกันเฉยๆ ก็สามารถเปิดบัญชีคู่ได้ค่ะ
เอกสารที่ต้องใช้ เปิดบัญชีคู่
กรณีลูกค้าที่มีสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา และ มาเลเซีย (เขตชายแดน) ที่เข้ามาทางานรับจ้างในประเทศไทย เอกสารที่ใช้ในการเปิดบัญชีมีดังนี้ :
ถอนเงินบัญชีคู่ ทำยังไง?
ปกติแล้วตอนเปิดบัญชีธนาคารจะให้คุณเลือกเงื่อนไขธุรกรรมว่า ต้องการถอนเงินในบัญชีแบบไหน
ระบุการถอนคนเดียว ถ้าเลือกแบบนี้ เวลาจะถอนเจ้าของบัญชีคนใดคนหนึ่ง สามารถเดินทางไปถอนคนเดียวได้
ระบุการถอนสองคน กรณีนี้ต้องใช้ลายเซ็นของทั้งสองคน ในการถอนเงินจากบัญชีที่สาขา หากอีกคนหนึ่งมาไม่ได้ ก็ต้องทำหนังสือมอบฉันทะ เพื่อยินยอมในการถอนเงิน
นอกจากนี้การเปิดบัญชีคู่แบบออมทรัพย์ยังสามารถทำบัตร ATM ได้นะคะ แต่ต้องตกลงกันให้ดีว่าจะให้ใครเป็นคนถือบัตร ATM
ขอบคุณบทความจาก ::กรุงเทพธุรกิจ
ประกาศบทความโดย : www.prosofterp.com