การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ

การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ

เลขที่หนังสือ : กค 0702(กม.14)/2623
วันที่ : 4 ธันวาคม 2552
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/3 และมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ประกอบกิจการซื้อมาขายไปกาแฟกระป๋อง หัวน้ำเชื้อ และหัวน้ำเชื้อชาเขียว ช. ได้ยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีเมษายน 2551 เดือนภาษีพฤษภาคม 2551 เดือนภาษีกรกฎาคม 2551 และเดือนภาษีตุลาคม 2551 โดยมีข้อเท็จจริงว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจ0สอบการขอคืนภาษี กรณีที่บริษัทฯ ยื่นแบบแสดง รายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ฉบับยื่นปกติรวมภาษีที่ขอคืนเป็นเงินจำนวน 1,510,423.08 บาท
          บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทต่อกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2551 พร้อมทั้งยื่นแบบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลง ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) แจ้งเลิกต่อกรมสรรพากรเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 ภาษีซื้อที่บริษัทฯ นำมาใช้ในการยื่นแบบ ภ.พ.30 สำหรับเดือนภาษีดังกล่าวเป็นภาษีซื้อที่เกิดจากการส่งเสริมการขายและค่าที่ปรึกษาทางกฎหมาย ซึ่งบริษัทฯ ได้รับบริการ ก่อนวันแจ้งเลิกการประกอบกิจการ แต่ได้รับใบกำกับภาษีภายหลังวันที่ยื่นแบบ ภ.พ.09 โดยใบกำกับภาษีลงวันที่ 4 เมษายน 2551 วันที่ 8 พฤษภาคม 2551 วันที่ 3 กรกฎาคม 2551 และวันที่ 30 ตุลาคม 2551 กรณีดังกล่าวหากบริษัทฯ ยังไม่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมิได้แสดงรายละเอียด การใช้สิทธิขอนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมาหักในการคำนวณภาษีในเอกสารตามที่อธิบดีกำหนดพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.พ.09 ตามข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.66/2539 เรื่อง การแจ้งเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2539
          1. บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในการยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายหลัง การยื่นแบบ ภ.พ.09 ได้หรือไม่
          2. หากบริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้ตามข้อ 1. บริษัทฯ จะต้องเสียเบี้ยปรับกรณีนำภาษีซื้อ มาใช้เกินไปตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่ และบริษัทฯ จะต้องยื่นแบบ ค.10 เพื่อขอคืนภาษีใช่หรือไม่
แนววินิจฉัย           กรณีบริษัทฯ ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทฯ ต่อกระทรวงพาณิชย์ และแจ้งเลิกกิจการตามแบบที่อธิบดีกำหนด (ภ.พ.09) เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 บริษัทฯ ยังคงต้องรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนต่อไปจนกว่า อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งขีดชื่อออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ไม่มีสิทธิออก ใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการตั้งแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิก การประกอบกิจการ แต่ยังคงต้องมีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 และใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ได้กระทำตั้งแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบ กิจการจนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งขีดชื่อออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีซึ่งเกิดจากการส่งเสริมการขายและรับบริการปรึกษากฎหมาย ก่อนวันที่ยื่นแบบ ภ.พ.09 และได้รับใบกำกับภาษีดังกล่าวนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบ ภ.พ.09 บริษัทฯ จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีนั้นมาหักออก จากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้
เลขตู้ : 72/37042


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th  หรือ Click
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 784
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์