• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/1176 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการอพาร์ทเมนท์ที่มีการให้บริการ ในลักษณะทำนองเดียวกันกับโรงแรม (Serviced Apartment)

เลขที่หนังสือ กค 0706/1176 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการอพาร์ทเมนท์ที่มีการให้บริการ ในลักษณะทำนองเดียวกันกับโรงแรม (Serviced Apartment)

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/1176 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการอพาร์ทเมนท์ที่มีการให้บริการ ในลักษณะทำนองเดียวกันกับโรงแรม (Serviced Apartment)

เลขที่หนังสือ กค 0706/1176 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการอพาร์ทเมนท์ที่มีการให้บริการ ในลักษณะทำนองเดียวกันกับโรงแรม (Serviced Apartment)

เลขที่หนังสือ : กค 0706/1176
วันที่ : ลว. 10 กุมภาพันธ์ 2549
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการอพาร์ทเมนท์ที่มีการให้บริการในลักษณะทำนองเดียวกันกับโรงแรม (Serviced Apartment)
ข้อกฎหมาย : มาตรา 77/1(10) มาตรา 77/2(1) มาตรา 78/1 และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ
ข้อหารือ : บริษัท ค. จำกัด ประกอบกิจการอพาร์ทเมนท์ที่มีการให้บริการในลักษณะทำนองเดียวกันกับโรงแรม (Serviced Apartment) โดยให้เช่าห้องพักและมีการให้บริการอื่นแก่ลูกค้าที่เข้าพัก บริษัทฯจะทำสัญญาขึ้น 2 ฉบับ คือ สัญญาเช่าห้องพักและสัญญาการให้บริการที่รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและการทำความสะอาดห้องพัก ทั้งนี้ ลูกค้ามีสิทธิเลือกห้องพักและกำหนดระยะเวลาการเช่าเป็นรายเดือนและรายปีได้เอง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการให้บริการเสริมอื่นๆ ที่มิได้ระบุไว้ในสัญญาการให้บริการแก่ลูกค้าที่เข้าพัก เช่น การให้ใช้ห้องประชุม การซักรีดเสื้อผ้า และการรับส่งเอกสาร ฯลฯโดยลูกค้าที่ใช้บริการต้องชำระค่าบริการแยกต่างหากจากสัญญาการให้บริการ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า1. บริษัทฯ ต้องนำค่าบริการตามสัญญาเช่า สัญญาการให้บริการ และการให้บริการเสริมอื่นๆมารวมคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใช่หรือไม่2. กรณีบริษัทฯ ได้รับชำระค่าบริการตามสัญญาดังกล่าว บริษัทฯ ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช่หรือไม่
แนววินิจฉัย : กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการอพาร์ทเมนท์ที่มีการให้บริการในลักษณะทำนองเดียวกันกับโรงแรม (Serviced Apartment) เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่ได้ออกใบกำกับภาษี หรือได้ ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ก็ให้ถือว่า ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด ตามข้อ12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528
เลขตู้ : 69/33878

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 943
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์