• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/219 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0706/219 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/219 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0706/219 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ : กค 0706/219
วันที่ : 12 มกราคม 2549
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย : 47 ทวิ และมาตรา 65 ทวิ(10) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : บริษัท น. (มหาชน) เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีบริษัทย่อยหลายแห่ง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2547 บริษัทฯ มีกำไรสะสมที่รับรู้ทางบัญชีตามวิธีส่วนได้เสีย
(Equity Method) ดังนี้
1. กำไรที่บริษัทฯ ได้จากการประกอบกิจการ จำนวน 421 ล้านบาท
2. กำไรที่บริษัทฯได้รับจากการนำเงินไปลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทฯ มีการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยโดยวิธี Equity Method จำนวน 306 ล้านบาท บริษัทฯ
นำไปประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 214 ล้านบาท (Take Equity) โดยแยกเป็นจ่ายจากกำไรที่ยังไม่ได้เสียภาษีจำนวน 145 ล้านบาท และจ่ายจากกำไรที่
เสียภาษีแล้วจำนวน 69 ล้านบาท บริษัทฯ ขอทราบว่าในการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย บริษัทฯ จะลงรายการเงินปันผลที่บริษัทฯ จ่ายจากกำไรที่รับรู้ทางบัญชีโดยวิธี
Equity Method จำนวน 214 ล้านบาท หรือจำนวน 145 ล้านบาท ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 131) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือ
รับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ประกอบกับข้อ 4(ข)(2)(2.4) ของคำแนะนำในการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา
50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย : บริษัทฯ มีกำไรสะสมที่รับรู้ทางบัญชีตามวิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) จำนวน 306 ล้านบาท บริษัทฯ นำไปประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 214 ล้านบาท
(Take Equity) โดยแยกเป็นจ่ายจากกำไรที่ยังไม่ได้เสียภาษีจำนวน 145 ล้านบาท และจ่ายจากกำไรที่นำไปเสียภาษีแล้วจำนวน 69 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ได้รับยกเว้นไม่ต้อง
นำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นบุคคลธรรมดาผู้ได้รับเงินปันผลที่จ่ายจากกำไร 145 ล้านบาท ไม่ได้รับสิทธิเครดิตภาษี
เงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนบุคคลธรรมดาผู้ได้รับเงินปันผลที่จ่ายจากกำไร 69 ล้านบาทมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนั้น การลงรายการในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย รายการกำไรที่รับรู้ทางบัญชีโดยวิธีส่วนได้เสียจำนวน 145 ล้านบาท จึงเป็นวิธีที่ถูกต้อง
เลขตู้ : 69/33811

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 878
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์