info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/พ./1193 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาการซื้อเรือโดยบริษัทต่างชาติ
เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/พ./1193 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาการซื้อเรือโดยบริษัทต่างชาติ
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/พ./1193 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาการซื้อเรือโดยบริษัทต่างชาติ
เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/พ./1193 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาการซื้อเรือโดยบริษัทต่างชาติ
ย้อนกลับ
เลขที่หนังสือ
: กค 0706(กม.08)/พ./1193
วันที่
: 16 ธันวาคม 2548
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาการซื้อเรือโดยบริษัทต่างชาติ
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 77/1 (8) (9) , มาตรา 77/2 (1) , มาตรา 80
ข้อหารือ
: นาย ก. ในฐานะผู้ประสานงานของบริษัท M. ได้ขอให้กรมสรรพากรคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อเรือให้แก่บริษัทฯ เป็นเงินจำนวน 455,000 บาท ซึ่งบริษัทฯ ได้ชี้แจงว่า บริษัทฯ เป็นบริษัทต่างชาติไม่สมควรที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนดังกล่าวที่บริษัทผู้ขายได้ออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บโดยมี ข้อเท็จจริงจากผู้ซื้อเรือที่มาให้ข้อมูลโดยตรงและโทรศัพท์สอบถามจากนาย น. กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท เอฯ ผู้ขายเรือ ได้ข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ ได้มอบอำนาจให้ Capt. C และ Mr.H เดินทางเข้ามาซื้อเรือในประเทศไทยจากบริษัท เอ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ในราคา 6,500,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 455,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,955,000 บาท โดยเรือลำดังกล่าวบริษัท เอฯ ใช้สำหรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประเภทสินค้าที่ขนส่งได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง บริษัท เอฯ จึงได้ออกใบกำกับภาษีและยื่นแบบ ภ.พ.30 และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวต่อกรมสรรพากรไว้แล้ว เนื่องจากบริษัท เอเชี่ยนฯ ผู้ขายเรือไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการยื่นใบขนขาออก แต่มีการส่งมอบเรือดังกล่าวให้ผู้ซื้อในประเทศไทย หลังจากผู้ซื้อได้ทำการซ่อมแซมตัวเรือ อุปกรณ์ และเครื่องยนต์เสร็จสิ้น เรือลำ ดังกล่าวได้มีการดำเนินพิธีการจดแจ้งการนำออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2548 เพื่อเดินทางไปยังประเทศบังคลาเทศประเทศปลายทาง
แนววินิจฉัย
: กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวบริษัท เอฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายเรือและได้มีการส่งมอบเรือในประเทศไทย โดยมิได้เป็นผู้ดำเนินการยื่นใบขนขาออกจึงมิใช่เป็นการส่งออกที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 77/1(14) และ มาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เข้าลักษณะเป็นการขายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในราชอาณาจักรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(8)(9) มาตรา 77/2(1) และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 68/33760
ขอบคุณบทความจาก ::
www.rd.go.th
449
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com