• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/3337 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีร่วมดำเนินการจัดตั้งตลาดขายปลีกและตลาดสดและการให้สินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

เลขที่หนังสือ กค 0706/3337 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีร่วมดำเนินการจัดตั้งตลาดขายปลีกและตลาดสดและการให้สินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/3337 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีร่วมดำเนินการจัดตั้งตลาดขายปลีกและตลาดสดและการให้สินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

เลขที่หนังสือ กค 0706/3337 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีร่วมดำเนินการจัดตั้งตลาดขายปลีกและตลาดสดและการให้สินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

เลขที่หนังสือ : กค 0706/3337
วันที่ : 26 เมษายน 2548
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีร่วมดำเนินการจัดตั้งตลาดขายปลีกและตลาดสด และการให้สินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
ประเด็นปัญหา : มาตรา 39 มาตรา 65 มาตรา 77/1(10) มาตรา 79
            องค์การของรัฐ (องค์การ ก.) ได้ตกลงร่วมดำเนินกิจการกับบริษัทฯ จัดตั้งตลาดขายปลีกและตลาดสด ในที่ดินของบริษัทฯ เพื่อเป็นแหล่งกลางในการซื้อขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสินค้าอื่น ๆ โดยใช้ชื่อว่า “ตลาด ก.” มีข้อตกลงร่วมกัน 13 ปี รายได้จากการดำเนินการคือค่าเช่าแผงขายสินค้า ค่าธรรมเนียม เงินประกันสัญญา ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าปรับ และรายได้อื่น ๆ เช่น ค่ามัดจำมิเตอร์ ตกลงแบ่งสรรผลประโยชน์จากกำไรสุทธิก่อนหักภาษีเงินได้ โดยปีที่ 1 – 4 องค์การ ก. ได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด ปีที่ 5 – 7 อ.ต.ก. ได้รับผลประโยชน์ร้อยละ 50 บริษัทฯ ได้รับร้อยละ 50 ปีที่ 8 – 10 ได้รับผลประโยชน์ร้อยละ 40 บริษัทฯ ได้รับร้อยละ 60 และปีที่ 11 – 13 ได้รับผลประโยชน์ร้อยละ 30 บริษัทฯ ได้รับร้อยละ 70 ในการดำเนินกิจการจะมีคณะกรรมการ 7 คน ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์การ ก. และจากบริษัทฯ ทำหน้าที่บริหารกิจการในตลาดและถ้ามีกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก รวมทั้งลงลายมือชื่อในนิติกรรมและเอกสารทั้งปวงจะต้องลงลายมือชื่อของผู้อำนวยการ องค์การ ก. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การร่วมดำเนินการดังกล่าว องค์การ ก. และบริษัทฯ มิได้จดทะเบียนหรือแจ้งต่อกรมสรรพากรหรือหน่วยงานของกรมสรรพากรและมิได้ขอเลขประจำตัว

ผู้เสียภาษีอากรแต่ประการใด แต่ได้ชำระภาษีในนามแต่ละฝ่าย จึงหารือว่า

          1. การที่ องค์การ ก. กับบริษัทฯ ได้ร่วมดำเนินกิจการตลาดขายปลีกและตลาดสด โดยมิได้จดทะเบียนกับกรมสรรพากร จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในฐานะกิจการร่วมค้าหรือไม่ อย่างไร

          2. เงินค่าใช้จ่ายที่ องค์การ ก. ได้รับจากการดำเนินการโครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในอัตราร้อยละ 2 ของวงเงินที่ให้เกษตรกรกู้ดังกล่าว จะต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร

          3. ดอกเบี้ยจากเงินในบัญชีกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรฯ ในระหว่างที่ยังมิได้ปล่อยสินเชื่อแก่เกษตรกร และดอกเบี้ยที่เกิดหลังปล่อยสินเชื่อให้แก่เกษตรกร ซึ่งดอกเบี้ยทั้งสองส่วนนี้ องค์การ ก. จะต้องนำส่งคืนกรมส่งเสริมฯ ทั้งหมดตามข้อตกลง องค์การ ก. จะต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร

แนววินิจฉัย           1. กรณีองค์การ ก. ร่วมกับบริษัทฯ ดำเนินกิจการตลาดขายปลีกและตลาดสดโดยมีข้อตกลงว่าหากกิจการมีกำไรให้แบ่งผลประโยชน์จากกำไรสุทธิก่อนหักภาษีเงินได้ตามสัดส่วนที่กำหนด นั้น การดำเนินกิจการดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็น “กิจการร่วมค้า” เพราะมิได้เป็นการดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เป็นกรณีที่บริษัทฯ มีรายได้เนื่องจากการประกอบธุรกิจ

“ตลาด ก.” ซึ่งต้องนำรายได้จากการประกอบการมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

          2. กรณีองค์การ ก. จัดทำโครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยได้รับเงินงบประมาณจากกรมส่งเสริมการเกษตรเข้าบัญชี “กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ย เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2544 (เงินทุนหมุนเวียนเกษตรกรรายย่อยลูกค้า องค์การ ก.)” และกำหนดให้ องค์การ ก. ต้องส่งเงินยืม เงินเหลือจ่ายพร้อมดอกผลที่เกิดขึ้น (หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการร้อยละ 2 ของเงินที่ให้เกษตรกรรายย่อยกู้ยืมจริง) ดังนั้น

          2.1 กรณีองค์การ ก. ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานร้อยละ 2 ของวงเงินที่ให้เกษตรกรกู้ยืม

          ภาษีเงินได้นิติบุคคล องค์การ ก. เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 มีฐานะเป็นองค์การของรัฐบาล ตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร องค์การ ก. จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แต่อย่างใด

          ภาษีมูลค่าเพิ่ม การดำเนินงานกรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร องค์การ ก. จึงต้องนำรายรับมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

          2.2 กรณีดอกเบี้ยจากบัญชีกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรฯ นั้น องค์การ ก. ดำเนินการในฐานะเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากกรมส่งเสริมการเกษตร ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจึงมิใช่รายได้ขององค์การ ก. ซึ่งจะต้องเสียภาษีแต่ประการใด

เลขตู้ : 68/33386

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 597
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์