เลขที่หนังสือ กค 0706/2604 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินลงทุนกลับคืนจากการลดหน่วยลงทุน

เลขที่หนังสือ กค 0706/2604 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินลงทุนกลับคืนจากการลดหน่วยลงทุน

เลขที่หนังสือ : กค 0706/2604
วันที่ : 30 มีนาคม 2548
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินลงทุนกลับคืนจากการลดหน่วยลงทุน
ประเด็นปัญหา : กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ มาตรา 40(4)(ง)
            1. กองทุนฯ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2542 โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บ. และธนาคารฯ เป็นบริษัทจัดการกองทุน โดยมีข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนกับบริษัทฯ โดยมีจำนวนเงินทุนจดทะเบียนของโครงการ 1,540,000,000.– บาท จำนวนหน่วยลงทุนที่เสนอขาย 154,000,000 หน่วย มูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วยลงทุน 10 บาท ณ ปัจจุบันมีจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนจำนวน 10 ราย

          2. หลังจากที่กองทุนฯ ได้ประกอบกิจการมาเป็นระยะเวลา 2 ปี 8 เดือน มีเงินสดเหลือเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการดำเนินการลดทุนตามข้อ 19 แห่งข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วย

ลงทุนกับบริษัทฯ โดยการเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อไถ่ถอนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย

          บริษัทฯ จึงหารือว่า การที่กองทุนฯ ได้มีการลดหน่วยลงทุนในกองทุนรวมจำนวน 19,250,000 หน่วย โดยได้มีการจ่ายคืนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนไปในอัตราหน่วยละ 10.63 บาท ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 204,627,500.- บาท

          1. เงินลดทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับคืนส่วนนี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้หรือไม่

          2. หากกรณีถือเป็นเงินได้ จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด จะถือเป็นเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน (CAPITAL GAIN) หรือเงินส่วนแบ่งของกำไร (DIVIDEND)

          3. จำนวนเงินที่เป็นฐานเงินได้ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีคิดจากเงินได้จำนวนใด

          4. กองทุนรวมจะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วยหรือไม่

แนววินิจฉัย           1. กรณีข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 เงินลดหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฯ ถือว่าเป็นการจ่ายเงินลงทุนคืนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ใช่เงินลดทุนของบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 40(4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เป็นเงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(32) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ดังนั้น เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับเงินลดหน่วย

ลงทุนคืนจากกองทุนรวม จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้เฉพาะส่วนเกินกว่ามูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วยลงทุน และเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

          2. กรณีข้อ 4 เงินลดหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฯ เฉพาะส่วนเกินกว่ามูลค่าที่ตราไว้ในหน่วยลงทุน ไม่ถือเป็นเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเลือกให้ผู้จ่ายหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินดังกล่าว ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536 ผู้จ่ายเงินได้จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด

เลขตู้ : 68/33356

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 594
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์