เลขที่หนังสือ | : กค 0706/415 |
วันที่ | : 18 มกราคม 2548 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลขาดทุนจากการขายลูกหนี้เงินกู้และหลักทรัพย์ |
ประเด็นปัญหา | : มาตรา 65 ทวิ (4) มาตรา 65 ตรี(12)(13) |
ตามบันทึกที่สำนักงานสรรพากรภาค แจ้งว่า บริษัทฯ ได้หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลขาดทุนจากการขายลูกหนี้เงินกู้และหลักทรัพย์ โดยปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้
1. บริษัทฯ ได้ให้บริการติดตั้งโครงข่ายโทรศัพท์แก่บริษัท ท. จำกัด (มหาชน) รวมมูลค่า 48,606,832.19 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และ 88,021,913.02 บาท ต่อมา บมจ. ท. ไม่สามารถชำระหนี้ดังกล่าวให้กับบริษัทฯ ได้ ในปี 2544 บริษัทฯ จึงได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับ บมจ. ท. ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยบริษัทฯ ตกลงแปลงหนี้ลูกหนี้การค้าเป็นเงินกู้และเงินลงทุน (หุ้น) พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของ บมจ. ท. ซึ่งบริษัทฯ จะได้รับการผ่อนชำระหนี้จาก บมจ. ท. ตามระยะเวลาในสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กำหนดระยะเวลาชำระหนี้งวดสุดท้ายสิ้นสุดในปี 2560
ทรัพย์สินในราคาตลาดหรือไม่ และบริษัทฯ สามารถนำผลขาดทุนจากการขายหนี้เงินกู้และเงินลงทุน พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ จำนวน 1,583,322,531 บาท มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ อย่างไร
และผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินไม่เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีสิทธินำผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ดังความละเอียดแจ้งอยู่แล้วนั้น |
|
แนววินิจฉัย | กรณีบริษัทฯ โอนขายหนี้เงินกู้ เงินลงทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของ บมจ. ท. ให้แก่บริษัท A ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทย ในราคาร้อยละ 33 ของราคาทุน เนื่องจากหนี้เงินกู้ เงินลงทุน (หุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) และใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ เป็นการขายทรัพย์สินของบริษัทฯ
ดังนั้น ภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลในการขายทรัพย์สินดังกล่าวแยกพิจารณาได้ดังนี้
นิติบุคคลแล้ว ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ต่อมาบริษัทฯ ได้ขายสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่บริษัทฯ มีต่อ บมจ. ท. ให้แก่บริษัท A ในราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่ให้กู้ยืม ส่วนต่างระหว่างจำนวนเงินที่บริษัทฯ ได้จากการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ กับจำนวนเงินที่ให้ บมจ. ท. บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการโอนขายหนี้เงินกู้ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
|
เลขตู้ | : 68/33283 |