• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/7413 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าอาคาร และการให้บริการส่วนกลางของอาคารโดยไม่มีค่าตอบแทน

เลขที่หนังสือ กค 0706/7413 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าอาคาร และการให้บริการส่วนกลางของอาคารโดยไม่มีค่าตอบแทน

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/7413 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าอาคาร และการให้บริการส่วนกลางของอาคารโดยไม่มีค่าตอบแทน

เลขที่หนังสือ กค 0706/7413 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าอาคาร และการให้บริการส่วนกลางของอาคารโดยไม่มีค่าตอบแทน

เลขที่หนังสือ : กค 0706/7552
วันที่ : 11 สิงหาคม 2547
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีผู้ขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดผลักภาระภาษีให้ผู้ซื้อเป็นผู้ชำระ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65, มาตรา 69 ตรี, มาตรา 91/2(6)
ข้อหารือ : นาย ส. ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด กับบริษัท พ. จำกัด โดยสัญญาฯ ระบุว่าค่าธรรมเนียม ค่าอากร ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อเป็นผู้ชำระทั้งสิ้น”ซึ่งนาย ส. เห็นว่าการผลักภาระภาษีดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้ซื้อ จึงขอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นว่า กรณีผู้บริโภคได้ชำระค่าภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะและรายได้ส่วนท้องถิ่นตามใบเสร็จรับเงินของกรมที่ดินจะถูกต้องและชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่อย่างไร
แนววินิจฉัย : กรณีบริษัทฯ ขายห้องชุดในอาคารชุดให้แก่นาย ส. ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร บริษัทฯ มีภาระภาษีดังนี้
1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดให้บุคคลห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่จ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 แล้วนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน
2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นำรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นมาคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 (รวมภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรายได้ส่วนท้องถิ่น)อย่างไรก็ตาม กรณีนาย ส. ผู้จ่ายเงินได้ออกค่าภาษีตาม 1 และ 2 แทนบริษัทฯ ค่าภาษีที่จ่ายแทนดังกล่าวถือเป็นรายได้ ซึ่งบริษัทฯ ต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นรายรับที่บริษัทฯ ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 67/33087

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 458
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์