• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/05395 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าและบริการ

เลขที่หนังสือ กค 0811/05395 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าและบริการ

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/05395 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าและบริการ

เลขที่หนังสือ กค 0811/05395 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าและบริการ

เลขที่หนังสือ : กค 0811/05395
วันที่ : 8 มิถุนายน 2542
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าและบริการ
ข้อกฎหมาย : คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.73/2541 ฯ, ท.ป.74/2541 ฯ
ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์โดยจัดทำสัญญาเช่าระยะสั้น 3 ปี สัญญาเช่าระยะยาว 30 ปี สัญญาสิทธิการได้ใช้บริการอุปกรณ์สาธารณูปโภค และสัญญาบริการ บริษัทฯ ได้เรียกเก็บเงินประกันสำหรับสัญญาเช่า สัญญาสิทธิการได้ใช้อุปกรณ์และสัญญาบริการเป็นเงิน 6 เท่าของค่าเช่าและค่าบริการต่อเดือน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้เรียกเก็บเงินประกันมิเตอร์น้ำเป็นเงิน 5,000 บาทต่อเครื่อง เงินประกันมิเตอร์ไฟเป็นเงิน 10,000 บาทต่อเครื่อง เงินประกันมิเตอร์โทรศัพท์เป็นเงิน15,000 บาทต่อเครื่อง เงินประกันมิเตอร์แก๊สเป็นเงิน 25,000 บาทต่อเครื่อง ขอทราบว่า
1. เงินประกันสัญญาเช่า สัญญาสิทธิการได้ใช้อุปกรณ์ สัญญาบริการ ที่ลูกค้าชำระมาล่วงหน้า 30 ปี บริษัทฯ จะทยอยรับรู้เป็นรายได้ภายในระยะเวลา 30 ปี ได้หรือไม่2. เงินประกันสัญญาเช่า 3 ปี จะเข้าเงื่อนไขตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกันเงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
3. เงินประกันสัญญาสิทธิการได้ใช้อุปกรณ์ 3 ปี และเงินประกันสัญญาบริกา 3 ปี เมื่อบริษัทฯเรียกเก็บเงินประกันดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยใช่หรือไม่ ลูกค้ามีสิทธิหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ หรือไม่ และบริษัทฯ ต้องนำมารวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณส่งภาษีเงินได้ด้วย ใช่หรือไม่
4. หากบริษัทฯ คืนเงินประกันดังกล่าวให้กับลูกค้า บริษัทฯ จะต้องบันทึกเป็นรายจ่ายใช่หรือไม่
5. เงินประกันมิเตอร์ดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช่หรือไม่ โดยลูกค้ามีสิทธิหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ หรือไม่ และบริษัทฯ ต้องถือเป็นรายได้ด้วย หรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. กรณีการให้บริการที่ได้มีการเรียกเก็บเงินประกันตามสัญญา และต่อมา ได้มีการคืนเงินประกันให้กับผู้รับบริการ ภาระภาษีสำหรับเงินประกันดังกล่าว บริษัทฯ สามารถถือปฏิบัติได้ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
2. กรณีดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นเงินก้อนที่จะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
(ก) โดยขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำ
(ข) ต้องมีการคืนเงินประกัน หรือเงินมัดจำให้แก่ผู้เช่าหรือผู้รับบริการทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเงื่อนไข แต่กรณีเกิดความเสียหาย ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้บริการมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
(ค) เงินประกัน หรือเงินมัดจำที่เรียกเก็บต้องไม่เกิน 6 เท่า ของค่าเช่าหรือค่าบริการรายเดือนและ
(ง) สัญญาการให้เช่าทรัพย์สินหรือการให้บริการมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปีดังนั้น กรณีเงินประกันการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ หรือการให้บริการอื่น ถ้ามีการเรียกเก็บตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็จะไม่ถือเป็นเงินก้อน จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
เลขตู้ : 62/27899

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 438
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์