info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0811/03661 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับโอนลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อ
เลขที่หนังสือ กค 0811/03661 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับโอนลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อ
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
ข้อหารือภาษีอากร
เลขที่หนังสือ กค 0811/03661 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับโอนลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อ
เลขที่หนังสือ กค 0811/03661 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับโอนลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อ
ย้อนกลับ
เลขที่หนังสือ
: กค 0811/03661
วันที่
: 22 เมษายน 2542
เรื่อง
: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับโอนลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อ
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 65
ข้อหารือ
: เอ และ บี ได้เข้าร่วมและชนะการประมูลกลุ่มหนี้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ ปรส. ได้จัดขึ้นใน
เดือนกรกฎาคม 2541 โดยได้จัดตั้งบริษัท ก จำกัด ขึ้นมาในประเทศไทย เพื่อรับโอนและดูแลสินทรัพย์ที่
ประมูลมาได้โดยเฉพาะ บริษัทฯ ขอสอบถามและขอนำเสนอวิธีการรับรู้รายได้ที่บริษัทฯ เห็นว่าเหมาะสม
และเป็นธรรมต่อกรมสรรพากรและบริษัทฯ ดังนี้
1. บริษัทฯ ขอเสนอวิธีการรับรู้รายได้ออกเป็น 2 กรณี คือ
(1) วิธี "Cost recovery" ซึ่งเป็นการตั้งพักส่วนต่างระหว่างราคามูลหนี้กับราคา
ซื้อหนี้สุทธิไว้โดยจะรับรู้ส่วนต่างเป็นรายได้เพื่อนำไปคำนวณกำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
เมื่อผู้รับโอนสามารถเรียกเก็บหนี้ได้เกินกว่าราคาซื้อสุทธิ
(2) วิธี "Level yield" เป็นการคำนวณโดยหาอัตราผลตอบแทนที่ทำให้กระแส
เงินสดที่จะได้รับทั้งหมดในอนาคตคิดลดมาในเวลาปัจจุบันเท่ากับราคาซื้อสุทธิ (เงินทุน) อัตราผล
ตอบแทนที่คำนวณได้ถือเป็นอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงสำหรับกลุ่มหนี้ที่รับซื้อมาในราคาที่มีส่วนต่างจากราคา
มูลหนี้สูง และจะนำมาใช้ในการคำนวณหารายได้ แทนอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งไม่สามารถ
สะท้อนผลตอบแทนที่แท้จริงที่ผู้รับโอนจะได้รับในอนาคตจากสัญญาเช่าซื้อที่รับโอนมา
2. บริษัทฯ ขอรับรู้รายได้เป็นรายกลุ่มหนี้แทนการรับรู้รายได้เป็นรายสัญญา ตามวิธีการที่
กรมสรรพากร ให้ถือปฏิบัติ เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อที่บริษัทฯ ประมูลได้มีถึง 225,000 สัญญา
แนววินิจฉัย
: 1. กรณีตาม 1. พิจารณาแล้วเห็นว่า วิธีการรับรู้รายได้ของบริษัทฯ ทั้ง 2 วิธีดังกล่าว
ไม่มีสิทธิปฏิบัติได้ เนื่องจากวิธี "Cost recovery" จะรับรู้รายได้ต่อเมื่อผู้รับโอนสามารถเรียกเก็บหนี้
ได้เกินกว่าราคาซื้อสุทธิ และวิธีการ "Level yield" เป็นการประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะ
ได้รับในอนาคตจึงไม่แน่นอนไม่เป็นไปตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีตาม 2. เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อมีจำนวนมาก ดังนั้น หากบริษัทฯ สามารถพิสูจน์ได้
ว่าการคำนวณเป็นรายสัญญาหรือรายกลุ่ม รายได้สุทธิที่จะต้องรับรู้เพื่อการเสียภาษีจะเท่ากันก็อนุมัติให้
บริษัทฯดำเนินการรับรู้รายได้เป็นรายกลุ่มหนี้ได้แต่ต้องจัดทำรายละเอียดของลูกหนี้แต่ละรายเพื่อ
ประกอบการบันทึกบัญชีด้วย ทั้งนี้ ตามหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับการ
รับซื้อลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ลงวันที่ 24 กันยายน 2541
เลขตู้
: 62/27765
ขอบคุณบทความจาก ::
www.rd.go.th
479
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com