เลขที่หนังสือ กค 0811/15745ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการชำระเงินค่าปรึกษาทางเทคนิคไปต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0811/15745ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการชำระเงินค่าปรึกษาทางเทคนิคไปต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ : กค 0811/15745
วันที่ : 16 พฤศจิกายน 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการชำระเงินค่าปรึกษาทางเทคนิคไปต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย : มาตรา70, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505
ข้อหารือ : บริษัท ก. จำกัด ได้สั่งนำเข้าเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิต โดยในสัญญาซื้อขายได้ระบุเงื่อนไขครอบคลุมถึงการบริการให้คำปรึกษาระหว่างการติดตั้งเครื่องจักรจนถึงการเดินเครื่อง โดยทางผู้ขายจะส่งวิศวกรมาดูแลให้คำปรึกษาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของผู้ซื้อ ในเรื่องงานติดตั้งจนกว่างานติดตั้งเครื่องจักรจะแล้วเสร็จและผู้ขายจะส่งใบแจ้งหนี้มาเรียกเก็บเงินค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของวิศวกรดังกล่าวระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย เป็นจำนวนเงิน BEF2,526,829 (เบลเยี่ยมฟรังค์) เมื่อบริษัทฯ โอนเงินค่าวิศวกรที่ปรึกษาชาวเบลเยี่ยมให้แก่ผู้ขาย จึงได้หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 โดยตีความเป็นค่าสิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อนไทย-เบลเยี่ยม ข้อ 12 วรรค2 (ข) เป็นจำนวนเงิน BEF 341,223.15 หรือ 281,850.32 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้นคือ0.826 บาทต่อเบลเยี่ยมฟรังค์ต่อมาทางผู้ขายได้ส่งหนังสือโต้แย้งการหักภาษีจำนวนดังกล่าว โดยแย้งว่า ค่าวิศวกรที่ปรึกษาที่เรียกเก็บมานั้นควรตีความเป็นกำไรของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญา ซึ่งจะเก็บภาษีได้เฉพาะในรัฐนั้น ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน ข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งอนุสัญญาภาษีซ้อนไทย-เบลเยี่ยม บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่หักภาษีจากเงินค่าวิศวกรดังกล่าว และได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้บริษัทฯ เป็นผู้ขอคืนภาษีหัก ณที่จ่ายจำนวนดังกล่าวคืนจากกรมสรรพากรบริษัทฯ ในฐานะผู้รับมอบอำนาจ จึงขอทราบว่าเงินค่าวิศวกรดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้ประเภทใดตามอนุสัญญาภาษีซ้อนไทย-เบลเยี่ยม และที่บริษัทฯ หักและนำส่งภาษีไว้ในอัตราร้อยละ15 เมื่อโอนเงินไปต่างประเทศเพื่อชำระหนี้นั้น ถูกต้องหรือไม่อย่างไร
แนววินิจฉัย : 1. กรณีตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท เอ ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศเบลเยี่ยมไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทย ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาให้คำแนะนำในการติดตั้งเครื่องจักรในประเทศไทยและเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวจากบริษัทฯ โดยจะต้องเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับเงินได้ค่าที่ปรึกษาดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้เพื่อข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม หรือทางวิทยาศาสตร์ จึงถือเป็นค่าสิทธิ ตามข้อ 12 วรรค 2(ข) แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ดังนั้น เมื่อบริษัท ก. จำกัด จ่ายเงินได้ดังกล่าวออกไปให้กับบริษัท เอ ซึ่งเป็นบริษัทที่
จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศเบลเยี่ยม มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องหักและนำส่งภาษีในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 12แห่งความตกลงฯ และพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 18) พ.ศ. 25052. บริษัท เอ จึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษีที่ถูกหักไว้แต่อย่างใด
เลขตู้ : 61/27258

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 722
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์