ค่าปรับจราจรลงรายจ่ายอย่างไร ไม่ให้ถูกบวกกลับ

ค่าปรับจราจรลงรายจ่ายอย่างไร ไม่ให้ถูกบวกกลับ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/6723
วันที่ : 3 กันยายน 2553
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลงรายจ่ายเงินค่าปรับคืนให้กับพนักงานผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจรทางบก ในการ คำนวณกำไรสุทธิ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (3)(6) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัทฯ ประกอบกิจการรับขนส่งด้วยรถบรรทุก รับบรรทุกตู้ คอนเทนเนอร์จากโรงงานผู้ส่งออกไปยังท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อส่งต่อไปยังต่างประเทศ ในระหว่างการเดินทาง บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบใน ความเสียหาย หรือความล่าช้าในการเดินทาง มิฉะนั้น อาจพลาดกำหนดออกของเรือได้ ในการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถ (พนักงานฯ) มีการกระทำผิดตามกฎหมาย จราจรทางบกต้องหาว่า เดินรถในเวลาห้าม นำรถที่ไม่มั่นคงแข็งแรงมาใช้บนถนนหลวง และจอดรถในเวลา ห้ามจอด พนักงานสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่ได้เปรียบเทียบ โดยออกใบเสร็จรับเงิน ค่าปรับให้ผู้ต้องหาในชื่อพนักงานฯ ไม่ได้ออกเป็นชื่อบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการและเจ้าของรถ ระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ เป็นข้อ ตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับพนักงานทั้งหมด บริษัทฯ ในฐานะผู้ประกอบการต้องชดใช้คืนค่าปรับให้กับพนักงานฯ ใช้แบบ คำขอเบิกเงิน ใน การยื่นขอคืนค่าปรับจากบริษัทฯ ข้อ 4. ของระเบียบกำหนดว่า ในการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ค่าปรับเนื่องจาก กฎหมายจราจร หรือ กฎหมายอื่นของทางราชการ บริษัทฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินค่าปรับนั้น แทนพนักงานทุกกรณี
          บริษัทฯ เห็นว่า กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินค่าปรับคืนให้กับ พนักงานฯ เป็นค่าใช้จ่ายโดยตรงของบริษัทฯ แต่ใบเสร็จรับเงินค่าปรับไม่ได้ออกเป็นชื่อของบริษัทฯ จะนำใบเสร็จรับเงินค่าปรับ และคำขอ เบิกเงินใช้คืนค่าปรับ มาลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย           1. กรณีค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานสอบสวน เป็น ค่าปรับทางอาญาตามกฎหมายจราจรทางบก ไม่เข้า ลักษณะเป็นค่าปรับทางอาญา ตามประมวลรัษฎากร ไม่ต้องห้ามถือเป็นรายจ่ายในการ คำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 10/2528 เรื่อง เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม และ ค่าปรับทางอาญา ตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีใบเสร็จรับเงินค่าปรับทางอาญาไม่ได้ออกเป็นชื่อ ของบริษัทฯ หากบริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่า ค่าปรับทางอาญาดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องในทางการที่จ้างของนายจ้างอย่างแท้จริง บริษัทฯ มีสิทธินำมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทฯ ได้ เนื่องจากเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของบริษัทฯ ไม่ต้อง ห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่ง ประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 73/37499


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th 
ประกาศบทความโดย ::www.prosofterp.com
 1007
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์