info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
กฎหมาย/ภาษี
ภาษีป้าย เรื่องที่ผู้เสียภาษีป้ายควรทำความเข้าใจ เสียภาษีป้ายแบบต่าง ๆ พร้อม ขั้นตอน วิธีคิดและการจัดเก็บภาษีป้าย
ภาษีป้าย เรื่องที่ผู้เสียภาษีป้ายควรทำความเข้าใจ เสียภาษีป้ายแบบต่าง ๆ พร้อม ขั้นตอน วิธีคิดและการจัดเก็บภาษีป้าย
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
กฎหมาย/ภาษี
ภาษีป้าย เรื่องที่ผู้เสียภาษีป้ายควรทำความเข้าใจ เสียภาษีป้ายแบบต่าง ๆ พร้อม ขั้นตอน วิธีคิดและการจัดเก็บภาษีป้าย
ภาษีป้าย เรื่องที่ผู้เสียภาษีป้ายควรทำความเข้าใจ เสียภาษีป้ายแบบต่าง ๆ พร้อม ขั้นตอน วิธีคิดและการจัดเก็บภาษีป้าย
ย้อนกลับ
ภาษีป้าย เรื่องที่ผู้เสียภาษีป้ายควรทำความเข้าใจ เสียภาษีป้ายแบบต่าง ๆ พร้อม ขั้นตอน วิธีคิดและการจัดเก็บภาษีป้าย
การติดตั้งป้ายหน้าร้านนั้นเป็นเรื่องปกติที่ร้านค้ามักจะมีไว้เพื่อโฆษณาและแสดงชื่อร้าน แต่สำหรับนักธุรกิจมือใหม่หลายรายคงยังไม่ทราบว่า การติดป้ายดังกล่าวทำให้เราต้องเสียภาษีในส่วนนี้ด้วย และบางรายอาจโดนตามปรับย้อนหลังทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจจะเลี่ยงภาษี
และสำหรับภาษีป้ายก็เป็นอีกภาษีรูปแบบหนึ่งที่คนส่วนมากมักไม่ค่อยรู้จักกันเท่าไร และในวันนี้ กระปุกดอทคอม ก็มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับภาษีชนิดนี้มาฝากนักธุรกิจมือใหม่กันค่ะ ว่า ภาษีป้ายคืออะไร และเราต้องเสียหรือไม่
ป้าย
หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น ๆเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ติดป้ายแบบไหน เสียภาษีป้าย
ภาษีป้าย
คือ ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือโลโก้บนวัตถุใด ๆ ด้วยตัวอักษร ภาพ ไม่ว่าจะเป็นบนป้ายทั่วไป ป้ายบิลบอร์ดตามตึกตามทางด่วน ป้ายผ้าใบ หรือป้ายไฟ ที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา ล้วนต้องเสียภาษีป้ายทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าเราเปิดร้านกาแฟที่ตึกแถวชื่อร้านว่า
"Incquity Coffee"
ที่มีป้ายร้านเป็นแผ่นไม้หน้าร้านหนึ่งอัน และเป็นในรูปแบบผ้าใบอันใหญ่อีกหนึ่งอันก็ต้องเสียภาษีทั้งหมด 2 ป้าย ด้วยอัตราภาษีที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดที่กำหนด
ติดป้ายแบบไหน ไม่เสียภาษีป้าย
ตามกฎหมายแล้วป้ายที่ต้องเสียภาษี คือ ป้ายใด ๆ ที่แสดงชื่อยี่ห้อที่ใช้ในการโฆษณาหรือหารายได้บนวัตถุต่าง ๆ แต่ว่ากฎหมายยังมีข้อยกเว้นหลายข้อ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้วิธีเหล่านี้ในการติดป้ายแทนป้ายแบบปกติทั่วไปได้ โดยไม่ต้องเสียภาษีด้วยวิธีดังนี้
1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า
3. ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ (ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
8. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนนั้น
9. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
10. ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
11. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
12. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ
(ก) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
(ข) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
(ค) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร
ขั้นตอนในการขออนุญาตและติดตั้งป้าย
1. ตรวจสอบความปลอดภัยของการติดตั้งป้าย
หลังจากที่ได้ป้ายมาจากร้านรับทำป้ายเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะนำป้ายไปติดตั้งเราควรแจ้งขนาดของป้าย รวมถึงภาพถ่ายหรือภาพ สเก็ตของป้าย พร้อมด้วยแผนผังที่ตั้งของบริเวณที่เราต้องการจะติดตั้งป้ายนั้น เพื่อนำมาขอคำอนุญาตติดตั้งกับทางสำนักงานเขต เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่เราอาศัยอยู่เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบก่อนว่าลักษณะป้ายของเรานั้น สร้างความเดือดร้อนที่ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือไม่ เช่น บริเวณที่คร่อมถนน บริเวณเสาไฟฟ้า ถนน ต้นไม้ และอื่น ๆ ที่อยู่บริเวณสาธารณะ ซึ่งโดยปกติแล้วหากใช้บริการจากร้านทำป้ายส่วนมากนั้น ทางร้านจะดำเนินการขอใบอนุญาตให้กับเราได้ด้วย
2. ยื่นเอกสารประกอบเพื่อยื่นชำระภาษี
หลังจากได้รับอนุญาตติดป้ายก็ให้เตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการเสียภาษีป้ายต่อไปนี้ให้ครบถ้วน เพื่อเตรียมนำไปยื่นชำระภาษี
บัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน
ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน
ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย
ถ้าในกรณีที่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้ายไว้แล้ว ควรนำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายจากปีก่อนมาแสดงด้วย
เมื่อได้เอกสารทั้งหมดพร้อมตามนี้แล้ว เจ้าของป้ายนั้นจะต้องไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป. 1) พร้อมด้วยหลักฐานทั้งหมด (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงป้ายต้องทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายเพื่อทำการประเมินภาษีป้ายใหม่ทุกครั้ง) และดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการภาษี พนักงานจะดำเนินการได้ 2 กรณี คือ
กรณีแรกคือเมื่อเราพร้อมชำระภาษีป้ายได้ทันที เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการประเมินภาษีทั้งหมดให้กับเราแล้ว
กรณีที่สองจะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่พร้อมชำระภาษีเมื่อได้รับการประเมินภาษีป้ายทั้งหมดแล้ว เจ้าหน้าที่จะมีหนังสือแจ้งการประเมินและแจ้งหนี้ทั้งหมดที่เราต้องชำระในภายหลัง ซึ่งเราจะมีเวลาเพียง 15 วัน นับตั้งแต่ได้รับการประเมินในการชำระภาษีป้ายนี้
ซึ่งการชำระหนี้นั้นถ้าป้ายเราเป็นป้ายที่เพิ่งยื่นภาษีเป็นปีแรก และได้รับการประเมินจากทางเจ้าหน้าที่ว่ามีภาษีป้ายเกิน 3,000 บาทขึ้นไป ก็สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด งวดละ 3 เดือน ในอัตราเท่า ๆ กัน
3. การชำระภาษีป้ายจะต้องชำระเป็นประจำทุกปี โดยชำระภายในเดือนมีนาคม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายคือ เจ้าของป้าย
แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็นหนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว
ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
1. การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้าย จะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่ หรือที่เปลี่ยนแปลงข้อความของป้ายใหม่
2. การชำระเงินค่าภาษี
2.1 ผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายต้องชำระค่าภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
2.2 กรณีที่เจ้าของป้ายยื่นแบบ (ภ.ป.1) แสดงรายการไว้ถูกต้องครบถ้วนและพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วถูกต้อง จะแจ้งการประเมินและชำระภาษีในวันที่ยื่นแบบฯ ได้
3. อัตราค่าภาษีป้าย
ป้ายประเภทที่
1
หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่
2
หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่
3
หมายถึง (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่ามีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ หรือ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตรเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียค่าภาษีป้ายละ 200 บาท
ป้ายประเภทที่
4
หมายถึง ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
ป้ายทุกประเภทเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
4. การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานประกอบการค้า หรือประกอบกิจกา
การขอผ่อนผันชำระภาษี
ถ้าภาษีป้ายที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวดงวดละเท่า ๆ กันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี และให้ชำระงวดที่หนึ่งก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี งวดที่สองภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่งและงวดที่สามภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง
การเสียเงินเพิ่ม
การเสียเงินเพิ่ม
คือ ไม่ได้ชำระภาษีป้ายตามกำหนดที่ควรเสีย ทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มด้วย โดยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย เสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตราดังนี้
(1) ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย
(2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่ พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน
(3) ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่ม
การอุทธรณ์
เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยยื่นอุทธรณ์ผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ฝ่ายรายได้สำนักงานเขตท้องที่ซึ่งยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายมีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นเสียได้
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จและแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการยกอุทธรณ์ดังได้กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามการอุทธรณ์นั้นไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีป้าย
เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครว่าให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาของศาลเสียก่อน
การขอคืนเงินค่าภาษี
ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้มีการลดจำนวนเงินที่ได้ประเมินไว้ให้แจ้งผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบโดยเร็วเพื่อมาขอรับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผู้ใดเสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีหรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสียมีสิทธิได้รับเงินคืนโดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้ชำระเงินค่าภาษี
ข้อกฎหมายและบทลงโทษ
1. หากผู้ประกอบการจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท
2. ถ้าผู้ประกอบการจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
3. ผู้ใดไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท ระยะเวลาการให้บริการโดยประมาณ 10 นาที ต่อรายไม่รวมขั้นตอนการตรวจสอบสวน (ถ้ามี)
ขอบคุณบทความจาก ::
www.rd.go.th
ประกาศบทความโดย ::
www.prosofterp.com
8308
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com