กรณีบริษัทจำกัดจ่ายเบี้ยประกันให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมเพื่อเป็นสวัสดิการและการตอบแทน ว่า 1.เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ ออกให้ กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมนี้หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทฯได้หรือไม่ และต้องถือเอาเบี้ยประกันชีวิต ดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินของกรรมการผู้จัดการเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่มีข้อจำกัดอย่างไร 2.กรณีที่บริษัทฯ จ่ายภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาทั้งหมดแทนกรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมและเจตนารมณ์ของบริษัทฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร
เกี่ยวกับเรื่องนี้สอดคล้องกับแนวคำตอบของกรมสรรพากรตามหนังสือเลขที่กค 0811/408 ลงวันที่ 21 มกราคม 2543 ดังนี้ 1.เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุม ของบริษัทฯ หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบแล้วบริษัทฯมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร และเพื่อความสะดวกในการแสดงหลักฐานให้บริษัทประกันภัยหมายเหตุไว้ในใบเสร็จรับเงินให้มีข้อความว่า เบี้ยประกันชีวิตที่รับนี้จ่ายโดยบริษัท...เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ ออกให้เข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มที่ลูกจ้างได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงานที่ต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป โดยบริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ จ่ายจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวด้วย หากกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลา 10 ปีขึ้นไป และบริษัทผู้รับประกันประกอบกิจการในประเทศไทย พนักงานมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ได้ไม่เกิน 100,000 บาท 2.เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากรขอบคุณบทความจาก :: www.rd.go.thประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
สมัครรับข่าวสาร