หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”

หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”



คุณเห็นด้วยหรือไม่ ? หากผู้คนจำนวนหนึ่งคิดว่าการโกงภาษีเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
 ไม่แปลกใจเลยที่ Mark Everson หนึ่งในคณะกรรมการการวินิจฉัยภาษีอากรเห็นว่ามันเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ ของการฉ้อโกงรัฐบาล เพราะเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ดีแหล่านี้มีส่วนทำให้ปัญหาเติบโตและส่งผลต่อผู้เสียภาษีที่ส่วนใหญ่แล้วทำหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย การหักค่าลดหย่อนหรือการตัดบัญชีหนี้สูญจำนวนที่สูงเกิน ล้วนเป็นประเด็นที่ทำให้แบบแสดงรายการของคุณถูก "ปักธง" หรือถูกจับตามองโดยกรมสรรพากรในช่วงที่ต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้นได้

    มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าในขณะที่ผู้เสียภาษีจำนวนร้อยละ 1 จะถูกตรวจสอบทุกปีแต่  "ผู้มีรายได้ปานกลางและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอย่างตรงไปตรงมา" อาจจะไม่ต้องกังวลกับการถูกตรวจสอบมากนัก ด้วยความกระหายใคร่รู้ จึงมีผู้สำรวจในรายละเอียดมากกว่านั้นอีก

ก่อนอื่น มันจะช่วยได้มากหากเราจะเข้าใจว่าการ “ปักธง” ตรวจสอบคืออะไร แบบแสดงรายการเสียภาษีได้ถูกประมวลผลโดยระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานสรรพากร ซึ่งถูกตั้งโปรแกรมให้เฝ้ามองรายการที่ไม่ปกติหรือไม่อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไป รายการที่แตกต่างออกไปจากบรรทัดฐานนี่แหละที่อาจจะเป็น “ธง” เพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่แบบแสดงรายการเสียภาษีของคุณจะตรวจสอบให้มากขึ้น แบบที่ถูกปักธงจะมีการทบทวนและตรวจสอบอีกครั้งโดยเจ้าหน้าที่สรรพากรเพื่อตรวจหาประเด็นความผิดปกติ อาจจะไม่ได้แปลว่าแบบแสดงรายการที่ถูกปักธงจะต้องถูกตรวจสอบเสมอไปแต่เป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่สรรพากรอาจจับตามองคุณอย่างใกล้ชิดมากเป็นพิเศษ นี่คือประเด็นหลากหลายกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่จะทำให้แบบแสดงรายการเสียภาษีของคุณอยู่ในความสนใจของเจ้าหน้าที่สรรพากร !!!

       แบบแสดงรายการที่ไม่สมบูรณ์ หรือข้อมูลที่แก้ไขเลอะเทอะ – แบบแสดงการคำนวณที่ผิดพลาด หรือแสดงข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนที่ควรจะเป็น หากระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจรายการที่คุณกรอก ก็จะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สรรพากรที่จะเป็นผู้ตรวจสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดนี่คือเหตุผลหนึ่งที่ให้ผู้เสียภาษียื่นแบบทางเล็กทรอนิกส์เพราะระบบจะช่วยจับผิดในประเด็นง่ายๆ ได้ดี

       ไม่แสดงรายการรายได้ – นี่คือข้อผิดพลาดอันใหญ่หลวง หากคุณยื่นแบบ แต่พลาดที่จะแจ้งรายการรายได้อย่างครบถ้วน คุณก็กำลังจะเดินหน้าเข้าสู่ปัญหา โปรดจำให้ขึ้นใจว่า คุณจะต้องแสดงรายการรายได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ย เงินปันผล และรายได้อื่นๆ เพราะว่าผู้จ่ายเงินได้เหล่านั้นย่อมนำส่งรายการจ่ายเงินได้ให้กับหน่วยงานสรรพากรเช่นกัน

       รายได้น้อยยิ่งต้องสงสัย – หากการแจ้งรายได้ของคุณน้อยกว่ารายอื่นๆ ในฐานอาชีพเดียวกัน เชื่อได้เลยว่าแบบแสดงรายการของคุณถูก “ปักธง” แน่ๆ

       รายได้สูงใช่ว่าจะรอด – แม้ว่าในแต่ละปีจะมีผู้เสียภาษีที่ถูกตรวจสอบน้อยกว่าร้อยละหนึ่ง แต่ผู้ที่มีรายได้มากกว่าปีละ 100,000 ดอลล่าร์ ก็มีแนวโน้มที่จะถูกตรวจสอบมากกว่าถึงห้าเท่า

       รายได้ที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน – ผู้คนส่วนใหญ่จะไม่สามารถมีรายได้ที่มากขึ้นหรือลดลงอย่างฉับพลันทันทีโด ไม่มีที่มาที่ไป และเจ้าหน้าที่สรรพากรย่อมรู้ดีการไม่แจกแจงความผันผวนของรายได้บ่งบอกถึงอะไรบางอย่างที่อาจถูกซุกซ่อนไว้

       ตัวเลขกลมๆ เป๊ะ – เป็นไปไม่ได้หรอกที่คุณจะได้รับผลตอบแทนการลงทุนจำนวน 500 ดอลล่าร์ถ้วน หรือค่าลดหย่อนจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจำนวน 10,000 ดอลล่าร์ พอดี ตัวเลขที่ “พอดี” เกินไป จะส่งกลิ่นไปยังจมูกของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ไม่ยาก

       บริจาคเพื่อการกุศลมากเกินไป – การกุศลเป็นสิ่งที่ดีแต่การบริจาคมากเกินไปก็เป็นเป้าหมายของการปักธงได้ ถ้าเฉลี่ยของผู้มีรายได้มีการบริจาคให้กับการกุศลเป็นเงิน 1,000 ดอลล่าร์ คุณก็กำลังจะเพิ่มอัตราความเป็นไปได้ที่จะถูกตรวจสอบ หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องแน่ใจว่าคุณรวบรวมใบเสร็จรับเงินไว้ได้ครบถ้วนทุกใบ !!

      รายการหักลดหย่อนมากมาย – เช่นกันที่กรณีแบบแสดงรายการใดๆ มีรายการสูงกว่าค่าเฉลี่ย ก็มีแนวโน้มที่จะดึงดูดความสนใจของสรรพากรได้มากกว่าปกติ การแสดงรายการค่าลดหย่อนตามสิทธิประโยชน์เป็นสิ่งที่กระทำได้ แต่หากคุณมีรายการลดหย่อนจำนวนมากมายเกินไป ก็ย่อมเป็นที่น่าสังเกตมากขึ้นตามไปด้วย

    มีแนวโน้มที่จะฉ้อโกงภาษี – เจ้าหน้าที่สรรพากรได้รับการอบรมความรู้และทักษะการตรวจสอบกรณีหลีกเลี่ยงภาษีที่พบได้บ่อย เพียงแค่ความพยายามที่จะฉ้อโกงภาษีไม่ใช่เรื่องยากที่จะตรวจพบแต่อย่างใด

เหล่านี้คือประเด็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ถูกสรรพากร “ จับตา ” และสำหรับธุรกิจขนาดย่อมล่ะ ? จะรอดพ้นสายตาสรรพากรไปได้อย่างไร ?

อบคุณบทความจาก :: www.rd.go.th
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 389
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์