ซื้อขายเฉพาะอย่าง ควรระวังเรื่องภาษี

ซื้อขายเฉพาะอย่าง ควรระวังเรื่องภาษี


ซื้อขายเฉพาะอย่าง ควรระวังเรื่องภาษี

เนื่องจากการเสนอสินค้าและบริการต่อผู้บริโภคมีรูปแบบมากมายหลายชนิด โดยผู้ประกอบการได้นำเสนอการขายในรูปแบบต่างๆตามเทคนิค วิธีการเฉพาะ เพื่อจูงใจ และนำไปสู่การตกลงทำสัญญาซื้อขายระหว่างกัน โดยสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งซึ่งมีคู่กรณีที่เกี่ยวข้องสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ซึ่งฝ่ายผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย ซึ่งในบทความนี้จะ พิจารณาตามหมวด 4 ในกฎหมายลักษณะซื้อขายการซื้อขายเฉพาะอย่าง คือ การซื้อขายบางลักษณะ (ไม่ใช่ประเภทของสัญญาและไม่ใช่ประเภทของทรัพย์สินที่ซื้อขาย) ตามหมวด 4ในกฎหมายลักษณะซื้อขาย เป็นการซื้อขายที่มีหลักเกณฑ์พิเศษเพิ่มขึ้นจากการซื้อขายทั่วไปได้แก่ ขายฝาก ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ และขายทอดตลาดโดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.การขายฝาก
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 ได้ให้คำจำกัดความของสัญญาขายฝากไว้แยกเป็นการเฉพาะต่างหากจากคำจำกัดความตามสัญญาซื้อขายทั่วไป โดยบัญญัติว่า “อันว่าขายฝากนั้นคือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”จากบทบัญญัติข้างต้นกล่าวได้ว่า สัญญาขายฝากก็คือสัญญาซื้อขายเช่นกันเพราะตัวบทมาตรานั้นได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขาย2...” ดังนั้น สาระสำคัญของสัญญาซื้อขายในเรื่องสัญญาซื้อขายก็สามารถนำมาใช้แก่สัญญาขายฝากได้เช่นกัน โดยสรุปสาระสำคัญของสัญญาขายฝากได้ดังต่อไปนี้

สรุปสาระสำคัญ

1. สัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญา
2. ฝ่าย คือ ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากผู้ขายฝาก คือ บุคคลที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อฝาก โดยได้รับชำระราคา
เป็นการตอบแทนและอาจไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้และเมื่อสัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่จะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกันกับสัญญาซื้อขาย ทั้งสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่ว่าจะขายฝากกันได้แต่เฉพาะอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
3. วัตถุประสงค์ของสัญญาขายฝาก คือการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝาก โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ดังนั้น เมื่อมีการขายฝากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากได้โอนไปยังผู้ซื้อฝากแล้วมิได้เป็นของผู้ขายฝากอีกต่อไปจนกว่าผู้ขายฝากจะได้ทำการไถ่ถอนทรัพย์สินนั้น การไถ่ก็มีควาหมายทำนองเดียวกับ “ซื้อกลับมา” นั้นเอง การไถ่คืนทรัพย์สินเป็นสิทธิ์ ของผู้ขายฝากไม่ใช่หน้าที่ของผู้ขายฝากที่ต้องไถ่ทรัพย์สินคืนเสมอ แต่ถ้าผู้ขายฝาก
ไม่ไถ่ทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ก็จะเป็นของผู้ซื้อฝากตลอดไป โดยผู้ขายฝากจะไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป ส่วนผู้ซื้อฝากมีหน้าที่ในการรับไถ่ ไม่ใช่มีสิทธิที่จะรับไถ่หรือไม่ก็ได้

กล่าวโดยสรุป ความหมายของสัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดประเภทหนึ่งที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยมีข้อสัญญาให้ผู้ขายอาจทำการไถ่ทรัพย์สินที่ขายไปนั้นคืนได้


2.การขายตามตัวอย่าง(Sale by sample)
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน“ตัวอย่าง” หมายถึง สิ่งที่นำมาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด การขายตามตัวอย่าง (sale by sample) หมายถึง การที่ผู้ซื้อได้มีโอกาสตรวจดูตัวอย่างของที่จะซื้อก่อน้ขายก็ต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้อ การไม่เหมือนนั้นอาจจะผิดเพี้ยนเล็กน้อยหรือไม่เหมือนเสียเป็นส่วนใหญ่หรือไม่เหมือนเลยก็เป็นการส่งมอบไม่ถูกต้องเช่นกัน
3.การขายตามคำพรรณนา (Sale by description)
การขายตามคำพรรณนาก็เป็นการซื้อขายเฉพาะอย่างที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ โดยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 503 เพียงแต่ว่า “ในการขายตามคำพรรณนา ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนา”เ มื่อพิจารณาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน “พรรณนา” หมายถึง กล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ14 แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้ให้คำจำกัดความของการขายตามคำพรรณนาไว้ก็ตาม
4.การซื้อขายเผื่อชอบ(Sale on approval)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ให้คำจำกัดความของการขายเผื่อชอบไว้ในมาตรา505 ว่า “อันว่าขายเผื่อชอบนั้น คือการซื้อขายกันโดยมีเงื่อนไขว่าให้ผู้ซื้อได้มีโอกาสตรวจดู
ทรัพย์สินก่อนรับซื้อการขายเผื่อชอบเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขใช้บังคับก่อนตรงที่ให้ผู้ซื้อมีโอกาสตรวจดูทรัพย์สินก่อนรับซื้อนั้น ที่ว่าเผื่อชอบนั้น ผู้ที่ชอบคือผู้ซื้อหากผู้ซื้อชอบและแสดงความจำนงว่าต้องการซื้อทรัพย์สินนั้น สัญญาซื้อขายจึงเกิดขึ้นและกรรมสิทธิ์จึงจะโอนไปเป็นของผู้ซื้อ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ซื้อไม่ชอบก็ปฏิเสธได้ การซื้อขายก็ไม่เกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ก็ไม่โอนไปเป็นของผู้ซื้อสาระสำคัญการขายเผื่อชอบความหมายตามพจนานุกรมฉบับ

(1) ถ้าผู้ซื้อมิได้บอกกล่าวว่าไม่ยอมรับซื้อภายในเวลาที่กำหนดไว้โดยสัญญาหรือโดยประเพณี หรือโดยคำบอกกล่าว หรือ
(2) ถ้าผู้ซื้อไม่ส่งทรัพย์สินคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวมานั้น หรือ
(3) ถ้าผู้ซื้อใช้ราคาทรัพย์สินนั้นสิ้นเชิง หรือแต่บางส่วน หรือ
(4) ถ้าผู้ซื้อจำหน่ายทรัพย์สินนั้นหรือทำประการอื่นอย่างใดอันเป็นปริยายว่ารับซื้อของนั้น

Click Download รายละเอียด ซื้อขายเฉพาะอย่าง ควรระวังเรื่องภาษี ที่ต้องรู้ได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 953
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์