ขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้เกินไปตามกฎหมาย

ขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้เกินไปตามกฎหมาย




ขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้เกินไปตามกฎหมาย

ผู้มีเงินได้ซึ่งถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ในปีภาษีเมื่อคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีแล้วพบว่ามีเงินที่ถูกหักไว้เกินไปก็สามารถขอคืนเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นได้ตามหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดแต่การขอคืนภาษีอากรมีปัญหาทางกฎหมาย
หลายประการ เช่น การตีความถ้อยคำในตัวบทแนววินิจฉัยหรือแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรความไม่ชัดเจนและความซ้ำซ้อนของบทบัญญัติเองดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ตรี และมาตรา63 แห่งประมวลรัษฎากร ในเรื่องของระยะเวลาการขอคืนภาษี จึงทำให้ผู้มีสิทธิในการขอคืนภาษีอากรเกิดความสับสน หรือกรณีที่ไม่อาจขอคืนภาษีอากรภายในระยะเวลาตามมาตรา 63 กล่าวคือ กำหนดให้การขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสีย ให้ยื่นคำร้องขอคืนได้ภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปซึ่งระยะเวลาดังกล่าวไม่สอดคล้องกับมาตรา27 ตรี อันเป็นบทบัญญัติในลักษณะทำนองเดียวกันำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย
ด้วยเหตุผลความจำเป็นดังกล่าวกรมสรรพากรจึงได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะเวลาการยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่38) พ.ศ. 2557 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14พฤศจิกายน 2557

ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญตามกรอบการนำเสนอดังนี้

1. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขอคืนภาษีอากรก่อนแก้ไข

2. สาระสำคัญการขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่


3. ผลของการแก้ไขการขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย


4. ความสำคัญของการยื่นคำร้องขอคืนภาษีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดในเบื้องต้นจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ซึ่งกฎหมายกำหนด
ไว้ 2 กรณี ได้แก่
(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายผู้รับเงินหรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ผู้รับเงินหรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล


•หลักเกณฑ์การหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่าย

1. การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีบุคคลสอง่าย ได้แก่ผู้จ่ายซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีแต่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอาจไม่ต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ก็ได้ แต่ถ้าหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ครบถ้วนหรือไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องร่วมรับผิดกับผู้ถูกหักซึ่งเป็นผู้รับเงินด้วย

2. ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้


3. หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้หัก ซึ่งมีอยู่ 4 มาตรา ได้แก่

3.1 มาตรา 50 เป็นการหัก ณ ที่จ่ายกรณีเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3.2 มาตรา 3 เตรส3 โดยคำสั่ งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เป็นการหักจากผู้เสียภาษีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ต้องเป็นการจ่ายเงินที่มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป
3.3 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 69 ตรีหักจากผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

Click Download รายละเอียด ขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้เกินไปตามกฎหมาย ได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น

ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 437
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์