ควบรวมกิจการ อย่ามองผ่านภาระภาษี

ควบรวมกิจการ อย่ามองผ่านภาระภาษี


ควบรวมกิจการ อย่ามองผ่านภาระภาษี

การควบเข้ากันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 73 มาตรา 85/15 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1073 ถึงมาตรา 1076 (กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล)มาตรา 1238 ถึง 1243 (กรณีบริษัท จำกัด) และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2542มาตรา 146 ถึง 1531 (กรณีบริษัทมหาชน)ซึ่งการควบเข้ากันของกิจการเป็นช่องทางหนึ่งในการยุบรวมนิติบุคคลเข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาความเยิ่นเย้อของธุรกรรมการค้าระหว่างนิติบุคคลในเครือเดียวกัน นอกจากจะไม่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแล้วยังมีประเด็นภาษีหลากหลายซึ่งสาเหตุในการควบบริษัทอาจมีได้หลายประการ เช่น เพื่อขจัดการค้าขายแข่งขันของแต่ละบริษัท เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของแต่ละบริษัท เพื่อขยายกิจการค้า หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมเรื่องการควบกิจการอาจจำกัดอยู่แต่ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่แต่ปัจจุบันกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ก็มีสิทธิเลือกใช้วิธีการควบกิจการได้ เพราะประมวลรัษฎากรได้ยกเว้นภาษีให้เช่นเดียวกัน

ผู้เขียนมีกรอบการนำเสนอ ดังนี้

1. หลักการทั่วไปของการควบกิจการ
1.1 หลักเกณฑ์ตามกฎหมายแพ่ง
1.2 หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535

2. สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีการควบกิจการพร้อมตัวอย่างแนววินิจฉัยที่น่าสนใจพิจารณาเนื้อหาตามลำดับได้ ดังนี้

1.หลักการทั่วไปของการควบกิจการ

การควบกิจการ (Merger) หมายถึง กรณีที่นิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปมีการโอนกิจการหรือทรัพย์สินหรือหุ้นทั้งหมดให้แก่กันไม่ว่าในระดับผู้ถือหุ้นหรือในระดับนิติบุคคลก็ตาม(หากเป็นเพียงการโอนบางส่วนอาจถือเป็นเพียงการเข้าครอบงำกิจการ (Take over) เท่านั้น)ซึ่งหากเป็นกรณีที่นิติบุคคลผู้โอนมีการโอนทรัพย์สินและหนี้สินให้แก่นิติบุคคลผู้รับโอนก็จะเรียกการควบรวมกิจการในรูปแบบนี้ว่า “statutory merger”หรือหากเป็นกรณีที่นิติบุคคลผู้โอนได้มีการรวมเข้าเป็นบริษัทในเครือของนิติบุคคลผู้รับโอนก็จะเรียกวิธีการควบรวมกิจการรูปแบบนี้ว่า“subsidiary merger” หรือหากเป็นกรณีที่บริษัทในเครือของนิติบุคคลผู้รับโอนได้ถูกรวมเข้ากับนิติบุคคลผู้โอนก็จะเรียกรูปแบบนี้ว่า“reverse subsidiary merger”การควบกิจการ หมายถึง การรวมกิจการของบริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปให้เป็นกิจการเดียวกันซึ่งมีการรวมกิจการได้หลายรูปแบบในประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทหรือมากกว่านั้นเมื่อได้ควบกัน บริษัทเดิมทั้งหมดจะต้องจดทะเบียนเลิกไปและจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่กล่าวโดยสั้นๆ การควบกิจการ (Mergers)หมายถึง การที่นิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปตกลงรวมกิจการกันเป็นกิจการเดียวการควบกิจการนั้นแตกต่างจากการโอนกิจการ เนื่องจากเมื่อได้มีการควบรวมกิจการแล้ว สถานภาพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสองแห่งจะต้องควบรวมกัน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเดิมสิ้นสภาพเป็นนิติบุคคล และเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใหม่เพียงนิติบุคคลเดียว

2.สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีการควบกิจการ
ข้อพิจารณาทางภาษีอากรกรณีการควบรวมกิจการโดยการได้มาซึ่งหุ้นหรือทรัพย์สินนั้นการควบเข้ากันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ควบเข้ากันเลิกกันแต่อย่างใด เพียงแต่กำหนดว่าแต่ละนิติบุคคลต้องนำความไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยการควบเข้ากันนั้น ต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขึ้นใหม่แต่ตามประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันถือว่าแต่ละบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ควบเข้ากันนั้นได้เลิกกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 73และกรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน อันเป็นนิติบุคคลประสงค์จะควบเข้ากันนั้น จะต้องแจ้งการเลิกประกอบกิจการ ตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากรเสียก่อนและนิติบุคคลใหม่ซึ่งได้ควบเข้ากันจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 85/14 แห่งประมวลรัษฎากร

Click Download รายละเอียด ควบรวมกิจการ อย่ามองผ่านภาระภาษีได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 1351
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์