CPTA คือใคร

CPTA คือใคร


CPTA คือใคร


ในระบบธุรกิจของนานาประเทศ ผู้ลงทุนจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้เพื่อ ใช้ในการตัดสินใจลงทุน ขณะเดียวกันผู้บริหาร ธุรกิจก็ต้องการข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจเช่นกัน โดยข้อมูลสำคัญซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดที่มีคุณภาพที่ถูกต้องคืองบการเงิน ประกอบด้วย งบกำไรขาดทุนซึ่งแสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจและงบดุลซึ่งแสดงฐานะการเงินของธุรกิจ

งบการเงินจะทำให้ธุรกิจวิเคราะห์โอกาส ความเสี่ยงในการลงทุน กลยุทธ์ที่ต้องใช้เพื่อ นำไปสู่แผนปฏิบัติงานที่เหมาะสม งบการเงินที่ ใช้ประเมินคุณภาพของกิจการที่สำคัญ คือ งบกระแสเงินสด ซึ่งจากการสำรวจพบว่า 25% ของมูลค่าทั้งหมดของตลาดมีผลมาจากข้อมูลทางการบัญชี และอีก 75% ของมูลค่าทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวผลักดันหรือขับเคลื่อนเป็นผลจากการบริหารจัดการเป็นกลยุทธ์ที่ใช้นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าและความเชื่อถือของลูกค้า

ดังนั้น งบการเงินของนิติบุคคลโดยทั่วไปต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจาก ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือผ่านการตรวจสอบและรับรองด้านภาษีอากรจากผู้ตรวจสอบและรับรองภาษี (CPTA) ซึ่งในแต่ละประเทศผู้ตรวจสอบและรับรองด้านบัญชีและ ผู้ตรวจสอบและรับรองด้านภาษีอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันหรือคนละบุคคลก็ได้อยู่ที่การกำหนดหลักเกณฑ์ของแต่ละประเทศ

สำหรับในบทความนี้จะขอเสนอระบบบัญชีภาษีของประเทศญี่ปุ่นให้ผู้อ่านได้ศึกษาและทำความเข้าใจ ดังนี้

• ระบบภาษีของประเทศญี่ปุ่น

1. โครงสร้างและระบบภาษีของญี่ปุ่น ประกอบด้วย

• ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

• ภาษีเงินได้นิติบุคคล

• ภาษีมูลค่าเพิ่ม

• ภาษีสรรพสามิต ที่เก็บจากสุราและบุหรี่

• อากรแสตมป์

• ภาษีมรดก

2. การเปรียบเทียบภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บได้ในปี 1990 และภาษีที่ภาครัฐคาดว่าจะจัดเก็บได้ในปี 2007 โดยมีสถิติที่เปรียบเทียบกันได้ ดังนี้

จากข้อมูลการเปรียบเทียบภาษีพบว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลง ขณะที่การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เปลี่ยนแปลงและภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงเกิดจากอัตราการเกิดของประชากรญี่ปุ่นลดลงทำให้สัดส่วนของประชากรที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษีให้รัฐน้อยกว่าผู้สูงอายุที่รัฐต้องเลี้ยงดู รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องมีการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อชดเชยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ลดลงเช่น เพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 8% หรือ 10% ในอนาคต

Click Download รายละเอียด CPTA คือใคร คลิกได้ที่รูปภาพ


อบคุณบทความจาก :: กรมสรรพากร
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 494
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์