info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
การเงินการบัญชี
ตีราคาทรัพย์สินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ตีราคาทรัพย์สินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
การเงินการบัญชี
ตีราคาทรัพย์สินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ตีราคาทรัพย์สินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ย้อนกลับ
ตีราคาทรัพย์สินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
หลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในประมวลรัษฎากร ก็คือ เรื่องการตีราคาทรัพย์สิน ซึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และการตีราคาทรัพย์สินลดต่ำลงไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นก็ดี การขายทรัพย์สินไปในราคาที่สูงเกินกว่าราคาทุนก็ดี ราคาส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือสูงเกินกว่าราคาทุนนั้น ย่อมถือว่าเป็นกำไรหรือรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการด้วย เพราะมีผลทำให้ยอดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นหรือขาดทุนสุทธิน้อยลงกรณีขายทรัพย์สิน กิจการจะมีกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิก็อาจขายทรัพย์สินไปได้โดยไม่มีกฎหมายห้าม แต่กรณีตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในทางภาษีอากรตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติห้ามนำราคาทรัพย์สินที่ตีเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ส่วนในกรณีที่มีการตีราคาทรัพย์สินต่ำลงตามหลักของบัญชี กิจการสามารถตีราคาทรัพย์สินให้ต่ำลงก็ได้ ถ้าทรัพย์สินนั้นมีราคาลดลงและเมื่อตีราคาลดลงแล้ว กิจการก็สามารถนำส่วนที่ลดลงมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิได้ แต่ในทางภาษีอากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะนำราคาส่วนที่ลดลงดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิไม่ได้ตามมาตรา 65 ตรี (17) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากมูลค่าของทรัพย์สินที่มีการตีราคาต่ำลงนั้นยังมิใช่รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น รายจ่ายจะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อมีการขายทรัพย์สินดังกล่าวไปแล้วได้มูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนซื้อทรัพย์สินนั้นมา ตามบทบัญญัติดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่า ประมวลรัษฎากรได้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและการตีราคาทรัพย์สินต่ำลงไว้โดยชัดแจ้งแล้วเพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการและต้องเป็นไปตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดด้วย การศึกษาทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์และกรณีที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด
Click
Download
รายละเอียดตีราคาทรัพย์สินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
คลิกได้ที่รูปภาพ
ข
อบคุณบทความจาก ::
สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย ::
www.prosofterp.com
450
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com