info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
การเงินการบัญชี
การวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย
การวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
การเงินการบัญชี
การวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย
การวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย
ย้อนกลับ
การวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย
รายได้และค่าใช้จ่าย เป็นองค์ประกอบของงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลการดำเนินงาน บทความนี้ อธิบายถึงคำนิยามของรายได้และค่าใช้จ่าย การรับรู้ค่าใช้จ่าย การวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย
รายได้
กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินให้คำนิยามของรายได้และค่าใช้จ่ายไว้ดังนี้
รายได้ (Income)
หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้า หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของกิจการอาจได้รับรายได้ในรูปของเงินสดสิทธิเรียกร้องที่มีต่อลูกค้า หรือมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์อันเนื่องมาจากผลิต รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่ก่อให้เกิดรายได้ อาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของกิจการและวิธีการรับรู้รายได้เช่น รายได้จากการขาย รายได้ค่าบริการดอกเบี้ยรับ รายได้ เงินปันผล ค่าเช่ารับเป็นต้น
รายได้ (Income)
ตามคำนิยาม รวมถึงผลกำไร หรือรายการกำไร (Gain) และรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมตามปกติผลกำไร หรือรายการกำไร หมายถึงรายการที่เป็นไปตามคำนิยามของรายได้ และอาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้ เช่น ผลกำไรจากการขายสินทรัพย์เนื่องจากผลกำไรแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ผลกำไรจึงมีลักษณะไม่แตกต่างจากรายได้ กรอบแนวคิดจึงไม่ถือผลกำไรเป็นองค์ประกอบหนึ่งของงบการเงิน
แยกต่างหากจากรายได้
การวัดมูลค่าของรายได้โดยปกติ จำนวนรายได้ที่กิจการตกลงกับผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินทรัพย์เป็นมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ได้รับหรือค้างรับสุทธิจากจำนวนส่วนลดตามปริมาณซื้อ เช่น จำนวนรับคืนส่วนลดการค้า ส่วนลดเงินสดมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) หมายถึงจำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันในการวัดมูลค่าของรายได้นั้นจะทำได้ดีที่สุดเมื่อมีการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการซึ่งจำนวนที่แลกเปลี่ยนนี้อาจวัดได้จากเงินสดที่ได้รับ หรือจำนวนที่จะได้รับในอนาคตโดยทั่วไป มูลค่าของรายได้อาจเท่ากับราคาขายที่ตั้งไว้ ในกรณีที่กิจการไม่ได้ขายเป็นเงินสดและจำเป็นที่จะต้องสำรองเงินจำนวนหนึ่งสำหรับมูลค่าที่ลดลงเนื่องมาจากช่วงระยะเวลาในการชำระหนี้ ตัวอย่างเช่น หากกิจการขายสินค้าเป็นเงินสด 100 บาท รายได้ที่ได้รับคือ100 บาท แต่หากกิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ100 บาท จำนวนที่จะได้รับในอนาคต 100 บาทย่อมมีค่าน้อยกว่า 100 บาทในปัจจุบัน ดังนั้นรายได้ที่ได้รับอาจไม่ถึง 100 บาท อย่างไรก็ตามหากช่วงเวลาจากวันขายจนถึงวันชำระหนี้เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ กิจการจะไม่คำนึงถึงมูลค่าที่ลดลงเนื่องจากระยะเวลาดังกล่าว เพราะว่ามูลค่าที่ลดลงของำนวนที่จะได้รับในอนาคตในช่วงระยะเวลาสั้นๆ นั้นไม่มีนัยสำคัญ และโดยปกติแล้ว ผู้ขายมักรวมดอกเบี้ยเข้าไปในค่าขายแล้ว ดังนั้น หากช่วงเวลาระหว่างวันขายจนถึงวันชำระหนี้เป็นระยะเวลานานกิจการควรแยกจำนวนดอกเบี้ยออกจากค่าขายในทางกลับกัน หากจำนวนดอกเบี้ยมีจำนวนเพียงเล็กน้อย กิจการไม่จำเป็นต้องแยกจำนวนดอกเบี้ยดังกล่าวออกมาโดยปกติ จำนวนรายได้ตามที่กิจการตกลงกับผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินทรัพย์เป็นมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ได้รับหรือค้างรับสุทธิจากจำนวนส่วนลดตามปริมาณซื้อ กล่าวคือรายได้นี้หักด้วยจำนวนรับคืน ส่วนลดการค้าส่วนลดเงินสด และรายการหักอื่นๆกิจการจะสามารถวัดมูลค ่าของรายได้ก็ต่อเมื่อมีหลักเกณฑ์ที่สมเหตุสมผลในการคาดคะเนถึงสิ่งตอบแทนที่จะได้รับหรือค้างรับดังแสดงด้วยตัวอย่างต่อไปนี้
กิจการขายสินค้า 70 หน่วย ในราคาหน่วยละ 1,500 บาท เป็นจำนวนเงิน 105,000บาท ราคาขายดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนโดยผู้ขายได้รับสินค้าและผู้ซื้อจะได้รับเงินสด อีกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น ราคาขายดังกล่าวคือ มูลค่ายุติธรรมจากตัวอย่างนี้ หากผู้ซื้อจ่ายชำระค่าสินค้าเป็นเงินสด ผู้ขายจะให้ส่วนลดเงินสด 1% ดังนั้นมูลค่ารายได้ของกิจการจะเท่ากับ 103,950 บาท(105,000 หักด้วย 1% ของ 105,000)
Click
Download ร
ายละเอียดการวัดมูลค่ารายได้และค่าใช้จ่าย คลิกได้ที่รูปภาพ
ข
อบคุณบทความจาก ::
สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย ::
www.prosofterp.com
430
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com