• หน้าแรก

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • การขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาโดยทางอื่น ที่มิใช่มรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาจากการให้โดยเสน่หา

การขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาโดยทางอื่น ที่มิใช่มรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาจากการให้โดยเสน่หา

  • หน้าแรก

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • การขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาโดยทางอื่น ที่มิใช่มรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาจากการให้โดยเสน่หา

การขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาโดยทางอื่น ที่มิใช่มรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาจากการให้โดยเสน่หา




การขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาโดยทางอื่น ที่มิใช่มรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาจากการให้โดยเสน่หา

1.เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร คำว่า “ขาย” ตามประมวลรัษฎากร มีบทนิยามศัพท์ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติ ไว้ดังนี้ “ขาย” หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึง

(1)  การให้ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือการแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น (พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 121 ) พ.ศ.2525)

(2)  การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาทซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์

2.ราคาขาย หมายถึงราคาขายอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดขึ้น ในกรณีโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยมี หรือไม่มีค่าตอบแทน ไม่ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ ในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม โดยถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้นตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

3.จำนวนปีที่ถือครอง หมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเกินสิบปีให้นับเพียงสิบปี และเศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี (นับตามปีปฏิทิน)

4.การหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น ที่มิใช่มรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฏีกา(ฉบับที่ 165) เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 50(5)(ข) และมาตรา 48(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร


5. กรมสรรพากร ได้มีการแนะนำสำหรับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และอากรแสตมป์ กรณีการขาย การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.100/2543 ลว. 24 พ.ย. 2543

คำเตือน ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่ขายไม่เข้าหลักเกณฑ์การยกเว้นการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะท่านต้องชำระภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย และในกรณีที่ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะท่านไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์แต่อย่างใด


          คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรม ที่มิใช่มรดก 

อบคุณบทความจาก :: กรมสรรพากร
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 239
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์