เตรียมรับมืออย่างไรกับภาษีต้องห้าม

เตรียมรับมืออย่างไรกับภาษีต้องห้าม



ในคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรได้กำาหนดให้มีรายจ่ายอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม กล่าวคือ ในทางบัญชีได้ลงเป็นรายจ่ายไปแล้วแต่ทางภาษีถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำานวณกำาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจะต้องบวกกลับในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งถ้าพิจารณารายจ่ายต้องห้ามตามมาตราดังกล่าวแล้ว รายจ่ายกลุ่มที่มีประเด็นปัญหาส่วนข้างมาก คือ รายจ่ายที่เกี่ยวกับกิจการหรือไม่เกี่ยวกับกิจการตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากรที่กำาหนดไว้ว่า

“มาตรา 65 ตรี รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำานวณกำาไรสุทธิ ... (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำาไร หรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ”

จากบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวจึงมีปัญหาในการพิจารณาว่ารายจ่ายลักษณะอย่างใดเป็นรายจ่ายเพื่อหากำาไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะประเด็นปัญหาดังกล่าวมีข้อโต้แย้งระหว่างผู้เสียภาษีกับเจ้าพนักงานประเมินอยู่เป็นประจำา เพราะในมุมมองของผู้เสียภาษีมักจะมองว่า

รายจ่ายที่จ่ายไปก็เพื่อกิจการทั้งนั้น เพราะการประกอบกิจการต้องมีรายจ่ายเกิดขึ้น แต่ในมุมมองของเจ้าพนักงานประเมิน
ก็อาจจะมีความเห็นไปอีกทางว่า มันไม่เกี่ยวกับกิจการ กิจการไม่จำาเป็นต้องจ่ายเลย ก็ประกอบกิจการได้ หรือไม่จำาเป็นต้องจ่ายไปถึงขนาดนั้นจะมีข้อยุติอย่างใดที่ผู้ประกอบการจะทราบได้ว่า ในทางภาษีจึงจะยอมรับรายจ่ายนั้น ๆ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องยากที่จะหาข้อยุติในทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากแต่ละธุรกิจมีลักษณะความจำาเป็นของรายจ่ายที่แตกต่างกันไป เช่น บางธุรกิจจำาเป็นต้องมีค่าโฆษณามาก ๆเพื่อหารายได้ก็จะต้องพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสม

รายจ่ายที่กิจการจ่ายไปถ้าเป็นรายจ่ายเพื่อหากำาไรหรือเพื่อกิจการย่อมลงรายจ่ายทางภาษีได้ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่าย
สำนักงาน ในการบริหารงาน รายจ่ายในการขาย รายจ่ายส่งเสริมการขาย รายจ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าพาหนะรายจ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก ค่าระวาง ค่าขนส่ง ค่าซ่อมแซม ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ค่าทำาบัญชี ค่าสอบบัญชี ค่าธรรมเนียมในการแนะนำาและปรึกษา เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ถ้ารายจ่ายดังกล่าวได้จ่ายไปเกินสมควรเกินกว่าความจำาเป็นแก่กิจการ รายจ่ายส่วนที่จ่ายเกินไปอาจเป็นรายจ่ายต้องห้ามได้ซึ่งรายจ่ายที่สมควรแก่กิจการจะมีขอบเขตแค่ไหน เพียงใดย่อมอยู่กับลักษณะของรายจ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจ่าย ผู้รับ ผู้จ่ายเหตุผลความจำาเป็นและหลักฐานในการจ่าย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องรายจ่ายอย่างหนึ่ง



อบคุณบทความจาก :: สภาวิชาชีพบัญชี
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com

 252
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์