info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
การเงินการบัญชี
นักบัญชีภาษีอากรกับความต่างของมาตรฐานบัญชีและภาษี
นักบัญชีภาษีอากรกับความต่างของมาตรฐานบัญชีและภาษี
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
การเงินการบัญชี
นักบัญชีภาษีอากรกับความต่างของมาตรฐานบัญชีและภาษี
นักบัญชีภาษีอากรกับความต่างของมาตรฐานบัญชีและภาษี
ย้อนกลับ
สภาวิชาชีพบัญชีมีแผนงานที่จะส่งเสริมศักยภาพให้มีนักบัญชีภาษีอากรที่เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านการบัญชีภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญขององค์กรในการที่จะทำให้มีการเสียภาษี รวมถึงการใช้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทางภาษี โดยไม่มีข้อผิดพลาดที่จะทำให้เกิดเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
สิ่งหนึ่งที่นักบัญชีภาษีอากรพบเสมอ คือ การจัดทำบัญชียึดหลักการตามมาตรฐานบัญชีไม่ว่าจะเป็น NPAE หรือ PAE เพื่อควบคุมรายได้ รายจ่าย ทรัพย์สิน หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น และช่วยในการตัดสินใจบริหารงานของกิจการและเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเช่นผู้ถือหุ้นที่ต้องนำข้อมูลผลประกอบการไปใช้ส่วนการรับรู้รายได้รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะยึดหลักการตามประมวลรัษฎากรซึ่งจะมีความแตกต่างกับมาตรฐานบัญชี ดังนั้น ในการดำเนินการให้ถูกต้องในการเสียภาษีจึงจำเป็นต้องทำการปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีให้เป็นกำไรสุทธิทางภาษี นักบัญชีภาษีอากรจึงต้องมีความรู้ในประเด็นความต่างของมาตรฐานบัญชีและภาษีเพื่อให้มีการดำเนินการด้านภาษีอย่างถูกต้องซึ่งจะกล่าวถึงดังนี้
ด้านรายได้
1.รายได้ที่ทางบัญชีรับรู้ไม่ตรงกับที่ภาษีรับรู้รายได้
เช่น IFRS 15 เรื่องรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้าจะรับรู้รายได้ทุกประเภทตามหลักการ 5 ขั้น (Five Step Model) ยกตัวอย่าง กรณีการขายสินค้า 100 บาท พร้อมการรับประกันซ่อมฟรี ในทางบัญชีอาจแยกบันทึกรายได้ออกเป็นสองภาระคือการขาย 90 บาทและหนี้สินที่เกิดจากการรับประกัน 10 บาท แต่ในทางภาษีจะรับรู้รายได้จากการขายทั้งจำนวน 100 บาท
2.รายได้ที่ทางบัญชีรับรู้แต่ทางภาษียกเว้นไม่ถือเป็นรายได้
เช่น รายได้เงินปันผลจากเงินลงทุนในทางบัญชี จะรับรู้เป็นรายได้แต่ในทางภาษีจะมีบทบัญญัติให้ยกเว้นหรือรับรู้เพียงกึ่งหนึ่ง ในการนำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร คือ
“สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้นำเงินปันผล ที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้ามารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้ เว้นแต่บริษัทจำกัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ ไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า มารวมคำนวณเป็นรายได้
(ก) บริษัทจดทะเบียน
(ข) บริษัทจำกัด นอกจาก (ก) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียนมีเงินได้ที่เป็นเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวโดยถือหุ้นที่ก่อให้เกิดเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรนั้นไว้ไม่ถึงสามเดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว หรือได้โอนหุ้นนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้
เงินปันผลที่ได้จากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามมาตรา 65 ตรี (2) ไม่ให้ถือเป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรตามความในวรรคสอง”
3.
รายได้ที่ทางบัญชีไม่รับรู้แต่ทางภาษีถือเป็นรายได้
เช่น สัญญาการซื้อขายแบบ Back to Back เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นทำให้ต้องจ่ายและรับเงินชดเชยในจำนวนเดียวกันในทางบัญชีอาจไม่รับรู้ทั้งรายได้และรายจ่ายแต่จะบันทึกเป็นทรัพย์สิน/หนี้สินตัดกันไป ส่วนในทางภาษีจะรับรู้รายได้รายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิ์ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรดังนั้นหากรายได้รายจ่ายในทางภาษีหากเกิดขึ้นคนละปียิ่งทำให้การปรับปรุงรายได้รายจ่ายทางภาษีต้องทำอย่างระมัดระวังมากขึ้น
ด้านรายจ่าย
1.รายจ่ายที่ทางบัญชีรับรู้ถือเป็นรายจ่ายไม่ตรงกับระยะเวลาที่ภาษีถือเป็นรายจ่าย
เช่น การคำนวณหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ในทางภาษียึดถือตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ซึ่งจะกำหนดอัตราร้อยละของการหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินไว้ไม่ให้หักเกินที่กำหนดอย่างไรก็ตามหากทางบัญชีคำนวณค่าเสื่อมหักไว้เป็นรายจ่ายต่ำกว่าที่พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 กำหนดไว้ ก็จะให้ยึดถือตามบัญชีซึ่งในทางปฏิบัติจะเกิดความต่างของบัญชีและภาษี
เมื่อบัญชีตัดค่าเสื่อมเป็นรายจ่ายสูงกว่าพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 กำหนด
บัญชีมีการทบทวนเปลี่ยนแปลงอายุการใช้งานของทรัพย์สินใหม่ และดำเนินการเปลี่ยนแปลงทันทีแต่ในทางภาษีเปลี่ยนไม่ได้ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน
2.รายจ่ายที่ทางบัญชีถือเป็นรายจ่ายแต่ทางภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
เช่น หนี้สูญในทางบัญชีจะมีกฎเกณฑ์ในการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญและรับรู้เป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุน แต่ในทางภาษีไม่อนุญาตให้หักเป็นรายจ่ายได้จนกว่าจะได้ดำเนินการตามที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้กำหนดไว้ อาทิเช่น
“การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย มีจำนวนเกิน 500,000 บาทขึ้นไป ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
ให้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐาน การติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า
(ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่า หายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้
(ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้
ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดี ที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีคำบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้ หรือ
ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูก
เจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว”
3.รายจ่ายที่ทางบัญชีไม่รับรู้เป็นรายจ่ายแต่ทางภาษีถือเป็นรายจ่ายได้
เช่น กรมสรรพากร มีประกาศกฎหมายกำหนดให้หักรายจ่ายบางประเภทได้สองเท่า เช่น การบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่ สถานพยาบาลของทางราชการ (พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 663) พ.ศ. 2561 แต่ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายสาธารณกุศล)
ความต่างของบัญชีและภาษีดังกล่าวข้างต้นที่หยิบยกมาเป็นเพียงส่วนน้อย และจะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคตเนื่องจากมาตรฐานบัญชีจะปรับเปลี่ยนไปอีกในขณะที่กฎหมายภาษียังคงเดิม แม้ว่าสภาวิชาชีพบัญชีจะได้ขอให้กรมสรรพากรพิจารณาปรับให้การรับรู้รายได้รายจ่ายทางภาษีให้ตรงกับมาตรฐานบัญชีก็ตาม กรมสรรพากรก็ปรับให้เป็นส่วนน้อย ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่นักบัญชีภาษีอากรต้องเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในส่วนนี้เพื่อทำการปรับปรุงกำไรในการเสียภาษีให้ถูกต้อง
ข
อบคุณบทความจาก ::
สภาวิชาชีพบัญชี
ประกาศบทความโดย ::
www.prosofterp.com
248
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com