เลขที่หนังสือ กค 0702/1870 อากรแสตมป์ กรณีขอขยายกำหนดเวลาการชำระอากรแสตมป์ หรือขอลดเงินเพิ่ม อากรแสตมป์

เลขที่หนังสือ กค 0702/1870 อากรแสตมป์ กรณีขอขยายกำหนดเวลาการชำระอากรแสตมป์ หรือขอลดเงินเพิ่ม อากรแสตมป์

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1870
วันที่ : 4 เมษายน 2566
เรื่อง : อากรแสตมป์ กรณีขอขยายกำหนดเวลาการชำระอากรแสตมป์ หรือขอลดเงินเพิ่ม อากรแสตมป์
ข้อกฎหมาย : กฎกระทรวง ฉบับที่ 129 (พ.ศ. 2512)ฯ
ข้อหารือ        บริษัท ก. (บริษัทฯ) ได้ยื่นคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการชำระอากรแสตมป์ หรือขอลด เงินเพิ่มอากรแสตมป์ มีข้อเท็จจริงสรุปได้ ดังนี้
  1. เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัทฯ ได้ทำสัญญากับกิจการร่วมค้า ABC. (กิจการร่วมค้าฯ) เพื่อรับจ้างผลิตและประกอบชิ้นส่วนโรงงานสำเร็จรูป ตามสัญญาจ้างทำของ (สัญญาฯ) โดยกิจการร่วมค้าฯ ประกอบไปด้วย 3 บริษัท ได้แก่บริษัท A. บริษัท B. และบริษัท C.
  2. บริษัทฯ มีหน้าที่ผลิตและประกอบชิ้นส่วน ตามแบบแปลนที่ได้รับจากกิจการร่วมค้าฯ โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่ (เช่น เหล็ก ท่อ และอื่น ๆ) กิจการร่วมค้าฯ จะเป็น ผู้จัดหามาให้บริษัทฯ สินจ้างตามสัญญาฯ มีจำนวน 897,000,000 บาท โดยปริมาณงานและ มูลค่างานตามสัญญาไม่ได้มีการแบ่งแยกส่วนงานและมูลค่างานออกเป็นของแต่ละนิติบุคคล ที่เข้าร่วมจัดตั้งเป็นกิจการร่วมค้าฯ แต่อย่างใด และบริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าจ้าง ตามความสำเร็จของงานที่ทำได้ โดยออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บจากกิจการร่วมค้าฯ ในแต่ละ งวดเดือน และเมื่อครบกำหนดชำระเงิน กิจการร่วมค้าฯ จะชำระเงินให้แก่บริษัทฯ โดยวิธีการ โอนเงินผ่านธนาคารพร้อมหักภาษี ณ ที่จ่าย
  3. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 บริษัทฯ ได้ยื่นแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน (แบบ อ.ส.4) โดยแยกคู่สัญญาออกเป็น 3 นิติบุคคล และแบ่งสินจ้างตามสัญญาออกเป็น 3 ส่วนเท่ากัน ฉบับละ 299,000,000 บาท พร้อมชำระอากรแสตมป์สำหรับแต่ละฉบับจำนวน 299,000 บาท รวมทั้งได้ชำระอากรแสตมป์สำหรับคู่ฉบับสัญญาแต่ละฉบับ จำนวน 5 บาท เนื่องจากบริษัทฯ สำคัญผิดในคู่สัญญาว่าลูกค้าเป็นกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล บริษัทฯ จึงยื่นแบบ อ.ส.4 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 โดยแยกคู่สัญญาออกเป็น 3 นิติบุคคล
  4. ต่อมาบริษัทฯ ทราบว่า การยื่นแบบ อ.ส.4 ของบริษัทฯ ตาม 3. ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ระบุคู่สัญญาผิด อันส่งผลให้สัญญารับจ้างทำของที่ทำไว้กับกิจการร่วมค้าฯ ยังไม่ได้ปิดแสตมป์ บริบูรณ์หรือเสียอากรไว้ บริษัทฯ จึงได้ยื่นแบบ อ.ส.4 ฉบับใหม่ พร้อมชำระอากรและเงินเพิ่ม อากร เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ซึ่งเกินกำหนดระยะเวลาการชำระอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากรแล้ว โดยบริษัทฯ ได้ชำระอากรแสตมป์จำนวน 897,000 บาท (สินจ้าง ตามสัญญาฯ 897,000,000 บาท) และชำระเงินเพิ่มอากรจำนวน 1,121,250 บาท โดยระบุ คู่สัญญาเป็นกิจการร่วมค้าฯ พร้อมทั้งชำระอากรสำหรับคู่ฉบับสัญญาจำนวน 5 บาท และ เงินเพิ่มอากรจำนวน 10 บาท
  5. บริษัทฯ จึงขอให้พิจารณาขยายระยะเวลาในการชำระอากรแสตมป์สำหรับตราสาร จ้างทำของตามสัญญาฯ ออกไปจนถึงวันที่ 29 มกราคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่บริษัทฯ ชำระอากร ถูกต้อง เนื่องจากบริษัทฯ สำคัญผิดในคู่สัญญาและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี อย่างไรก็ดี หากไม่สามารถขยายระยะเวลาให้ได้ บริษัทฯ ขอให้พิจารณาลดเงินเพิ่มอากรลงเป็นอัตรา ร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนแทน
แนววินิจฉัย : กรณีบริษัทฯ อ้างเหตุแห่งความสำคัญผิดในคู่สัญญาเป็นเหตุให้ไม่สามารถชำระอากรแสตมป์ ได้ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด กรณีดังกล่าวเป็นความผิดพลาดในการดำเนินการ ของบริษัทฯ เอง ถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้จึงไม่อนุมัติ ให้ขยายกำหนดระยะเวลาการชำระอากรแสตมป์ ตามมาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี กรณีบริษัทฯ ได้ยื่นแบบ อ.ส.4 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 ชำระอากรเป็นตัวเงิน สำหรับค่าจ้างทำของตามสัญญาฯ โดยแยกคู่สัญญาออกเป็น 3 นิติบุคคล เนื่องจากระบุ คู่สัญญาผิด ส่งผลให้สัญญาฯ ยังมิได้ปิดแสตมป์อากรบริบูรณ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ อ.ส.4 ฉบับใหม่เพื่อชำระอากรเป็นตัวเงินอีกครั้ง พร้อมเงินเพิ่มอากรต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ โดยมิได้รับคำเตือนหรือถูกเรียก ตรวจสอบเป็นหนังสือของเจ้าพนักงานแต่อย่างใด ถือได้ว่าบริษัทฯ มิได้มีเจตนาที่จะ หลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงอนุมัติให้บริษัทฯ เสียเงินเพิ่มอากรในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือ เศษของเดือนของเงินอากร โดยเริ่มนับแต่วันที่ต้องชำระอากรตามข้อ 3 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 129 (พ.ศ. 2512) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย อากรแสตมป์และอากรมหรสพ ตามที่บริษัทฯ ร้องขอ


ขอบคุณบทความจาก ::กรมสรรพากร
 265
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์