• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/667 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51) ภายในกำหนดเวลา

เลขที่หนังสือ กค 0702/667 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51) ภายในกำหนดเวลา

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/667 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51) ภายในกำหนดเวลา

เลขที่หนังสือ กค 0702/667 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51) ภายในกำหนดเวลา

เลขที่หนังสือ : กค 0702/667
วันที่ : 3 กุมภาพันธ์ 2565
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51) ภายในกำหนดเวลา
ข้อกฎหมาย  มาตรา 67 ทวิ มาตรา 67 ตรี มาตรา 68 มาตรา 69 มาตรา 27 มาตรา 35
ข้อหารือ  ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัท ก. (บริษัทฯ) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 อำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทฯ จึงตกอยู่แก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 โดยศาลได้พิพากษาให้บริษัทฯ ล้มละลายแล้ว และคดีอยู่ระหว่างจัดการและจำหน่าย ทรัพย์สินของบริษัทฯ เพื่อแบ่งชำระให้กับเจ้าหนี้ทั้งหลาย เนื่องจากบริษัทฯ มีหน้าที่ต้อง ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และ ภ.ง.ด.50 ซึ่งการยื่นแบบดังกล่าว จะต้องยื่นรายงานของผู้ตรวจสอบ และรับรองบัญชีเป็นเอกสารแนบ โดยผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีต้องเป็นบุคคลที่ได้รับ ใบอนุญาตรับรองการประกอบวิชาชีพเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจากสภาวิชาชีพบัญชี ถึงจะสามารถจัดทำรายงานดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า ค่าใช้จ่ายในการจ้าง ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีและการจัดทำ รายงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีเป็น ภาระแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเกินสมควร จึงไม่สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีปี 2561 แบบ ภ.ง.ด.51 และ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2562 และแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 ภายในกำหนดเวลาได้ หากบริษัทฯ ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว โดยจะขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย  1. กรณีบริษัทฯ เป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลาย และศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งสั่งพิทักษ์ ทรัพย์บริษัทฯ เด็ดขาด เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ส่งผลให้อำนาจในการจัดการกิจการ และทรัพย์สินของบริษัทฯ ตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ตาม มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 บริษัทฯ ยังคงมีหน้าที่ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แบบ ภ.ง.ด.51 บัญชีงบดุลและรายการอื่น ๆ ที่จำเป็นในการคำนวณ ภาษี เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 มาตรา 67 ทวิ มาตรา 68 และ มาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภายใน กำหนดเวลา บริษัทฯ ต้องรับผิด ดังนี้
  (1) กรณีบริษัทฯ ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และบัญชีงบดุลภายในกำหนดเวลา ต้องเสีย เงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย รวมทั้ง ค่าปรับอาญา ตามมาตรา 27 และมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร
  (2) กรณีบริษัทฯ ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หากบริษัทฯ ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้ลดเงินเพิ่ม โดยให้เสียร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย แต่ไม่เกิน เงินเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ 16 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลด เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 รวมทั้งค่าปรับอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวล รัษฎากร
 2. กรณีบริษัทฯ ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2561 ถึงปี 2564 บริษัทฯ มีสิทธินำมาใช้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ตามรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกหักไว้นั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร
 3. กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 ของบริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีและการจัดทำรายงานของ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี อันเป็นภาระแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเกินสมควร กรณี เป็นเรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินระหว่างบริษัทฯ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในช่วงที่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลบังคับ จึงยังไม่ถือว่ามีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะ ปฏิบัติตามกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เมื่อไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 ภายในกำหนดเวลา จึงมีภาระภาษี เงินเพิ่ม และค่าปรับอาญาตาม 1.
เลขตู้ : 85/51306


ขอบคุณบทความจาก ::กรมสรรพากร
 312
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์