• หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/723 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีขออนุมัติผ่อนผันการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

เลขที่หนังสือ กค 0702/723 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีขออนุมัติผ่อนผันการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/723 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีขออนุมัติผ่อนผันการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

เลขที่หนังสือ กค 0702/723 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีขออนุมัติผ่อนผันการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

เลขที่หนังสือ : กค 0702/723
วันที่ : 8 กุมภาพันธ์ 2564
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีขออนุมัติผ่อนผันการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 50 ทวิ (1) มาตรา 50 ทวิ วรรคสาม มาตรา 3 เตรส
ข้อหารือ ธนาคารฯ ขออนุมัติผ่อนผันการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มีข้อเท็จจริงสรุปได้ ดังนี้
1. ธนาคารฯ ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการทางการเงินครบวงจร รวมถึง ให้บริการรับชำระเงินผ่านระบบธนาคารฯ (Payment Gateway) แก่ผู้ประกอบการ ร้านค้า (ลูกค้า) ที่รับชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการด้วยบัตรเครดิตของธนาคารอื่นหรือ ชำระผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
2. ธนาคารฯ จะทำหน้าที่เรียกเก็บเงินจากธนาคารที่ออกบัตรเครดิต รวมทั้งผู้ให้บริการ รายอื่นที่รับชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ แล้ว จึงหัก ค่าธรรมเนียมตามจำนวนที่ตกลงกับลูกค้าเป็นค่าตอบแทน และนำส่งเงินค่าสินค้าหรือ ค่าบริการตามจำนวนที่เหลืออยู่ให้ลูกค้า
3. เนื่องจากธนาคารฯ ได้ดำเนินธุรกิจร่วมกับผู้ให้บริการ e–Payment หลายราย โดยได้มี ข้อตกลงแบ่งค่าธรรมเนียมตามที่ธนาคารฯ ได้รับจากลูกค้าและในการดำเนินธุรกิจ ดังกล่าวมีขั้นตอน ดังนี้
    3.1 ผู้ให้บริการ e–Payment จะทำหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการที่ผู้ซื้อได้ ชำระด้วยบัตรเครดิตจากธนาคารที่ออกบัตรเครดิตแล้ว หักค่าธรรมเนียม (รายได้ ของผู้ให้บริการ e–Payment) ก่อนแล้วจึงส่งเงินที่เหลือให้ธนาคารฯ
    3.2 เมื่อธนาคารฯ ได้รับเงินจากผู้ให้บริการ e–Payment แล้ว ธนาคารฯ จะหัก ค่าธรรมเนียมตามจำนวนที่เหลืออยู่และนำส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการให้ลูกค้า ต่อไป
4. เนื่องจากผู้ให้บริการ e–Payment มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานสรุปยอดเงินค่าสินค้าหรือ บริการ รวมถึงหักค่าธรรมเนียมและภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายวันส่งให้ธนาคารฯ ทำให้ ธนาคารฯ ไม่สามารถออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ทันภายในเวลาที่ กฎหมายกำหนด ธนาคารฯ จึงขอผ่อนผันการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร 1 ฉบับต่อเดือน
แนววินิจฉัย กรณีธนาคารฯ ประกอบธุรกิจตาม 1. ขอผ่อนผันการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็น 1 ฉบับต่อเดือน โดยสรุปยอดรายการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ของทั้งเดือนให้ผู้ให้บริการ e–Payment เนื่องจากธนาคารฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกครั้งที่มีการชำระเงินค่าธรรมเนียม ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 ทวิ (1)แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528การที่ผู้ให้บริการ e–Payment จัดทำรายงานสรุปยอดเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการ รวมถึงหักค่าธรรมเนียมและภาษีมูลค่าเพิ่มส่งให้ธนาคารฯ เป็นรายวันทำให้ธนาคารฯ ไม่สะดวกในการปฏิบัติ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระการออกหนังสือรับรอง การหักภาษี ณ ที่จ่ายดังกล่าว จึงผ่อนผันให้ธนาคารฯ ไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทค่าธรรมเนียมให้ผู้ให้บริการ e– Paymentในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และให้ธนาคารฯ มีสิทธิออกหนังสือรับรอง การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็น 1 ฉบับต่อเดือนได้ตามที่ธนาคารฯ ร้องขอ ตามมาตรา 50 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างไรก็ดีธนาคารฯ จะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในทันทีทุกครั้งที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้องขอ
เลขตู้ : 84/51032


ขอบคุณบทความจาก ::กรมสรรพากร
 346
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์