เลขที่หนังสือ กค 0702/พ./2420 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่ารถยนต์กระบะ

เลขที่หนังสือ กค 0702/พ./2420 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่ารถยนต์กระบะ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/พ./2420
วันที่ : 3 พฤษภาคม 2564
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่ารถยนต์กระบะ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/3, มาตรา 82/5 (6)
ข้อหารือ

หน่วยงาน ก. หารือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่ารถยนต์กระบะ มีข้อเท็จจริงสรุปได้ ดังนี้
1. เนื่องด้วยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ได้มีผลใช้บังคับแทน พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในพิกัดอัตราสรรพสามิตสำหรับรถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับ ให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ตามกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดพิกัด อัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ออกตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งสรุปความได้ดังนี้

พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
“รถยนต์กระบะ” หมายความว่า รถยนต์ที่มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวสำหรับคนขับและตอนหลังเป็นกระบะบรรทุกซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา “รถยนต์กระบะ” หมายความว่า รถยนต์ที่มีตอนหลังเป็นกระบะบรรทุกซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา
ไม่ได้กำหนดประเภท กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
ประเภทที่ 06.03 รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม
(1) ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (No Cab)
(2) ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (Space Cab)
(3) รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab)
(4) รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle)
(5) รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (Hybrid Powered Vehicle)
(6) รถยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะ ที่ไม่เคยมีการจำหน่ายในท้องตลาด เป็นการทั่วไปในราชอาณาจักร และไม่เคยได้รับ
ยกเว้นภาษีสรรพสามิตมาก่อน หรือเคยได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตมาแล้ว แต่ได้ยุติการวิจัยพัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะ
(7) อื่น ๆ นอกจาก (1) ถึง (6)
2. หน่วยงาน ก. ได้เช่ารถยนต์กระบะ 5 ประเภทเพื่อนำไปใช้ในกิจการของตน ดังนี้
    2.1 รถยนต์กระบะที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (Space Cab)
    2.2 รถยนต์กระบะที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (Space Cab) และต่อเติมหลังคาเพื่อใช้สำหรับบรรทุกสิ่งของ
    2.3 รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab)
    2.4 รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) และต่อเติมหลังคาเพื่อใช้สำหรับบรรทุกสิ่งของ
    2.5 รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle)
หน่วยงาน ก. ขอหารือว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่ารถยนต์กระบะทั้ง 5 ประเภทข้างต้น สามารถนำไปหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ประมวลรัษฎากร ได้หรือไม่ และกรมสรรพากรกำหนดวันที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อใด
แนววินิจฉัย กรณี หน่วยงาน ก. ได้เช่ารถยนต์เพื่อใช้ในกิจการของตน ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ประกอบกับกฎกระทรวง กำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ หากเข้าลักษณะเป็นประเภทรถยนต์กระบะตามกฎหมายดังกล่าว ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่ารถยนต์กระบะไม่ต้องห้ามนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 และมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 71) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 อย่างไรก็ดี หากเป็นการเช่ารถยนต์ ก่อนวันที่ 16 กันยายน 2560 การพิจารณาประเภทของรถยนต์ว่าเป็นประเภทรถยนต์กระบะที่สามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่ามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามหลักการดังกล่าวข้างต้นได้ จะต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แล้วแต่กรณี
เลขตู้ : 84/51186


ขอบคุณบทความจาก ::กรมสรรพากร
 266
ผู้เข้าชม
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์