เชื่อว่านักบัญชีหลายท่านรักการจดบันทึกเป็นชีวิตจิตใจ ชีวิตติดกระดาษ ชื่นชอบวิถีชีวิตแบบอนาล็อกและเบื่อกับสมุดจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่มีพื้นที่ว่างในปฏิทินไม่เพียงพอ การจัดระเบียบชีวิตด้วย “Bullet Journal” ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แถมสร้างสรรค์จินตนาการได้อิสระตามตัวตนที่คุณเป็น สิ่งนี้แตกต่างจากการบันทึกทั่วไปอย่างไร และมีประโยชน์อะไร เตรียมสมุดแล้วลองทำตามไปพร้อมกันได้เลย
Bullet Journal หรือ BUJO คืออะไร
Bullet Journal ถูกคิดค้นโดย Ryder Carroll นักออกแบบและนักเขียนชาวอเมริกัน เพื่อจัดระเบียบชีวิต การทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการพักจากความวุ่นวายในโลกดิจิทัลอีกด้วย เพราะการเขียนจะทำให้มีสมาธิมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยความหมายของ Bullet Journal ไม่ใช่แค่รูปแบบของสมุดหรือเครื่องมือจดบันทึก แต่มันคือการจัดการกระบวนความคิดผ่านกระดาษ ด้วยการอ้างอิงจาก
สิ่งที่คุณทำ สิ่งที่คุณควรทำและสิ่งที่คุณต้องการจะทำในอนาคต (Mental Inventory) | ||||
ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน (Set Goal) | ||||
ย้อนกลับมาดูเพื่อตรวจสอบเป็นประจำในทุกวัน (Recap) | ||||
จัดความยุ่งเหยิงไร้ระเบียบให้เข้าที่เข้าทาง (Declutter) | ||||
บันทึกกิจกรรมแบบละเอียด (Habit Tracker) |
หลักการทำ Bullet Journal
การทำ Bullet Journal เริ่มต้นไม่ยากและมีความเป็นอิสระ นักบัญชีสามารถสร้างสรรค์ในรูปแบบใดก็ได้ เน้นเขียน เน้นวาด หรือนำภาพมาปะติดลงในสมุดก็สามารถทำได้ทั้งหมด แต่จะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ข้อ คือ Rapid Logging และ Module
1. Rapid Logging หรือวิธีการจดบันทึกที่ต้องกระชับและเข้าใจง่าย
1) Topics ชื่อหัวข้อ ทุกกิจกรรมที่เราทำจะต้องมีการตั้งหัวข้อไว้เพื่อให้ง่ายต่อการบันทึกและใช้ในการจัดหมวดหมู่ | ||||
2) Page Number เลขหน้า คุณจะต้องเขียนเลขหน้าไว้และมีการจัดสารบัญในหน้าแรก ๆ | ||||
3) Short Sentences ประโยคสั้น ๆ เช่น งานที่ต้องทำ นัดหมาย บันทึกช่วยจำ หรืออะไรก็ได้ที่เป็นการบันทึกแบบสั้น ๆ | ||||
4) Bullets สิ่งนี้เป็นหัวใจของการทำ Bullet Journal คือการแสดงสถานะในการบันทึกสิ่งต่าง ๆ โดยเราสามารถสร้างสัญลักษณ์ด้วยตัวเองได้ แต่ก็จะมีแนวทางหลักที่คนนิยมใช้ เช่น + แทนสิ่งที่ต้องทำ หรือ To do |
1) Index เรียกแบบเข้าใจง่าย ๆ เลยก็คือ “สารบัญ” สิ่งนี้จะช่วยให้เราค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เราบันทึกไว้ให้ง่ายขึ้น | ||||
2) Future Log การวางแผนล่วงหน้าในระยะยาว โดยส่วนมากมักจะเป็นกิจกรรมพิเศษ เช่น เที่ยวต่างประเทศลาพักร้อน ซึ่งสามารถตีตารางตามความเหมาะสม แต่ก็อย่าลืมเว้นที่ไว้สำหรับการทำ Bullet หรือบันทึกอื่น ๆ ด้วย | ||||
3) Monthly Log บันทึกแบบรายเดือน การบันทึกแบบนี้หลายคนจะคุ้นชิน เพราะเราสามารถวาดและเขียนเป็นปฏิทินไว้ได้เลย ส่วนนี้คุณสามารถเขียนกิจกรรมที่ต้องทำต่าง ๆ ในแบบรายเดือนได้เลย และเหมือนกับ Future Log อย่าลืมเว้นที่ไว้สำหรับการทำ Bullet หรือบันทึกอื่น ๆ ด้วย | ||||
4) Daily Log / Weekly Log ถ้าคุณเป็นคนละเอียดหรือต้องการในระดับรายวันคุณก็สามารถทำเป็นแบบรายวันหรือรายสัปดาห์ได้เลย โดยเงื่อนไขก็ไม่ต่างกับ Monthly Log |
แผนระยะยาว เน้นการบันทึกด้วยโครงสร้างแบบ Future Log หรือ MonthlyLog เพราะจะทำให้นักบัญชีนั้นมองเห็นสิ่งที่ต้องทำในระยะยาว และทางที่ดีคุณควรบันทึกในโครงสร้างนี้ด้วย Bullet ที่เป็น Goals หรือเป้าหมายในสิ่งที่คุณต้องการ มากกว่าเป็นการบันทึกกิจกรรมแบบ Tracking ก็จะตอบโจทย์กับแผนระยะยาวมากกว่า | ||||
แผนระยะสั้น เน้นการบันทึกด้วยโครงสร้างแบบ Daily Log หรือ Weekly Log เพื่อให้เห็นภาพแบบชัดเจนยิ่งขึ้นในรายวันหรือรายสัปดาห์ และเพิ่มบันทึกช่วยจำ (Reminder) เป็นตัวช่วยในการบันทึก หรือจะบันทึกแบบ Tracking ที่เน้นการบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ แบบละเอียด เช่น Mood Tracker, Habit Tracker ก็จะตอบโจทย์แผนระยะสั้นมากกว่า |
การทำ Bullet Journal มีประโยชน์ในหลาย ๆ ส่วน ตั้งแต่ ช่วยในการจัดการงานช่วยบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ฝึกฝนการจัดระเบียบทางความคิด เพิ่มทักษะการออกแบบศิลปะ ช่วยให้เราอยู่กับตัวเองมากขึ้น ทำให้เราได้ทบทวนสิ่งที่ต้องทำในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้โดยไม่มีอะไรมารบกวน เพราะการเขียนต้องใช้สมาธิ มีเวลามากพอที่จะไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ เมื่อได้รู้จักกับ Bullet Journal กันแล้ว นักบัญชีทุกท่านลองสำรวจตัวเองกันดูว่า เราสามารถจัดระเบียบชีวิตได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ายังยุ่งยากซับซ้อน งานหรือเป้าหมายยังกระจัดกระจาย และคุณต้องการจัดระเบียบมัน ลองทำให้ง่ายขึ้นด้วยการทำ Bullet Journal |