info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
การเงินการบัญชี
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
การเงินการบัญชี
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ย้อนกลับ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการขายสินค้าซึ่งต้องมีสินค้าอยู่ในสต็อกเก็บไว้เพื่อรอการขายเสมอแต่ในหลายกรณีบริษัทฯ ได้นำสินค้าที่มีไว้เพื่อขายมาเบิกใช้ในกิจการ
จึงมีประเด็นขึ้นมาว่าถ้าสินค้าที่มีไว้เพื่อขายนั้นเมื่อนำมาใช้เสียเองแล้ว จะถือเป็นรายได้ทางภาษีอย่าง
ไร และจะต้องเสียภาษีใช่หรือไม่
การตอบคำถามดังกล่าวจึงต้องแยกพิจารณาตามข้อกฎหมายของแต่ละกรณี ซึ่งจะแยกตามประเภทภาษีเพื่อความเข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นบริษัทฯ ต้องนำรายการได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่ง ประมวลรัษฏากร ดังนั้น รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิจึงเป็นรายได้ที่ได้จากกิจการ เช่น การขายสินค้า การให้เช่าทรัพย์สิน การรับจ้างทำของ การให้บริการ เป็นต้น สำหรับกรณีที่บริษัทฯ ไม่ได้มีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการแต่เป็นการนำสินค้า ทรัพย์สิน หรือสินค้าไปใช้เองไม่ว่าจะเป็นการโอนสินค้าหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ ไปใช้ในกิจการของบริษัทฯ เอง เช่น นำสินคาจากสำนักงานใหญ่ไปเก็บไว้ที่สาขาเพื่อรอการขาย หรือการนำสินค้าไปใช้ในกิจการของบริษัทฯ เองโดยตรง เช่น บริษัทฯขายคอมพิวเตอร์ และได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในกิจการของตนเองที่จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
จึงสรุปได้ว่า สำหรับการโอนทรัพย์สินหรือสินค้าของบริษัทฯ ไปใช้ในกิจการของบริษัทฯ เอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่บริษัทฯ จะต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มจะจัดเก็บจากการขายสินค้าในราชอาณาจักร การให้บริการในราชอาณาจักร และการนำเข้าสินค้า ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น การนำสินค้าหรือบริการไปใช้ในกิจการของตนเองจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือมีจึงต้องพิจารณาว่า
เป็นการขายสินค้าหรือบริการ
หรือไม่
ถ้าไม่เป็นการขายสินค้าหรือบริการก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามประมวลรัษฎากรที่กำหนดว่ากรณีการนำสินค้าหรือบริการไปใช้ในกิจการของตนเองที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีดังนี้
(1) ตามมาตรา 77/1(8)(ง)แห่งการประมวลรัษฎากร
ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่1) ฯ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2534 กำหนดหลักเกณฑ์สรูปได้ว่าการนำสินค้าที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งถ้าขายไปให้บุคคลอื่นก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้นำสินค้าดังกล่าวไปใช้ในกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำสินค้าไปใช้ในกิจการดังกล่าวถือเป็นการ
“ขาย”
ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
ตัวอย่าง
บริษัท ก.จำกัด ประกอบกิจการขายน้ำแข็งซึ่งเป็นการขายสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกอบกิจการขายปลาสลิดสดในประเทศ ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)ก)แห่งประมวลรัษฎากร บริษัท ก.ได้นำน้ำแข็งที่มีไว้เพื่อขายดังกล่าวไปแช่ปลาของตนเอง จึงเป็นการนำเอาสินค้าที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้ในกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งถือเป็นการ “ขาย” สินค้า(คือน้ำแข็ง)
บริษัทฯ จึงต้องนำมูลค่าของน้ำแข็งดังกล่าวมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนที่นำน้ำแข็งไปใช้แช่ปลาด้วย
ทั้งนี้ ในกรณีที่นำสินค้าไปใช้ในกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีนี้จะไม่ถือว่าเป็นการขายสินค้า จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เว้นแต่
สินค้าที่นำไปใช้นั้นเป็นสินค้าประเภทรถยนต์นั่ง (เช่นรถเก๋ง) หรือรถตู้โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน (เช่น รถตู้ที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง) ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับรถยนต์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการ "ขาย” ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตัวอย่าง
บริษัท ข.จำกัด ประกอบกิจการขายพรมซึ่งเป็นการขายสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท ข.ได้นำพรมที่เป็นสินค้ามีไว้เพื่อขาย โอนไปเป็นทรัพย์สินเพื่อมีไว้ให้เช่า การนำพรมที่มีไว้เพื่อขาย(ตัดสต็อก) นำไปใช้เป็นทรัพย์สินเพื่อมีไว้เพื่อให้เช่าเป็น
การนำทรัพย์สินที่อยู่
ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยเช่นกัน จึงไม่ถือว่าเป็นการ “ขาย” และไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตัวอย่าง
บริษัท ค.จำกัด ประกอบกิจการขายรถเก๋ง ได้นำรถเก๋งที่มีไว้เพื่อขายนำไปใช้เป็นทรัพย์สินเพื่อนำออกไปให้เช่า ซึ่งการประกอบกิจการขายรถเก๋งและกิจการให้เช่ารถเก๋ง ต่างก็เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เนื่องจากเป็นการนำสินค้าที่เป็นรถเก๋งไปใช้ในกิจการของตนเอง (ให้เช่า)ซึ่งถือเป็นการ
“ขาย”
จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับมูลค่าของรถเก๋งที่นำไปใช้ในกิจการของตนเองนั้นด้วย
(2) ตามมาตรา 77/1(10)แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับการประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2)ฯ ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2534 กำหนดหลักเกณฑ์สรุปได้ว่า การนำบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งถ้าให้บริการแก่บุคคลอื่นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ได้นำบริการดังกล่าวไปใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำบริการไปใช้ในกิจการดังกล่าวถือเป็น "บริการ" จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
ตัวอย่าง
บริษัท จ.จำกัด ประกอบกิจการรับจ้างซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกอบกิจการรับขนส่งในประเทศซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รถยนต์บรรทุกที่ใช้ในกิจการขนส่งเกิดอุบัติเหตุต้องซ่อม บริษัท จ.จึงให้แผนกซ่อมรถยนต์ของบริษัทฯ ที่รับจ้างซ่อมเป็นการทั่วไป ทำการซ่อมรถบรรทุกนั้น การให้บริการซ่อมรถยนต์ของตนเองซึ่งใช้ในกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจึงถือเป็น “บริการ’’ ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
ทั้งนี้ ในกรณีที่นำบริการไปใช้ในกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีนี้จะไม่ถือเป็น“บริการ”จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเว้นแต่บริการที่นำไปใช้ในกิจการของตนเองซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เป็นกิจการที่นำไปใช้เพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือเป็นบริการที่นำไปใช้กับรถยนต์นั่ง(เช่นรถเก๋ง) และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
ข
อบคุณบทความจาก ::
สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย ::
www.prosofterp.com
335
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com