info@prosofterp.com
Prosoft Asset Management
081-359-6934
Prosoft WINSpeed Cloud
081-359-6933
Menu
Home
Product
Prosoft WINSpeed Cloud
Prosoft iERP Asset
Feature
Promotion
News & Promotion
E-Newsletter
Promotion
Event
บทความที่น่าสนใจ
Blog
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
Services
จองอบรม Online
FAQs
คู่มือการใช้งาน
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Manual
Prosoft Assets Management
Prosoft WINSpeed Cloud
Help
System Requirement
Guidelines
About Us
About Us
Personal Data Protection Act
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
Blog
กฎหมาย/ภาษี
สรรพากรกำหนดให้นายจ้างยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.1 ก และ ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เริ่มปี 2567 เป็นต้นไป
สรรพากรกำหนดให้นายจ้างยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.1 ก และ ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เริ่มปี 2567 เป็นต้นไป
ย้อนกลับ
หมวดหมู่บทความ
กฎหมาย/ภาษี
การเงินการบัญชี
เกร็ดความรู้ภาษีต่างๆ
ข้อหารือภาษีอากร
กิจการ/อื่นๆ
หน้าแรก
Blog
กฎหมาย/ภาษี
สรรพากรกำหนดให้นายจ้างยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.1 ก และ ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เริ่มปี 2567 เป็นต้นไป
สรรพากรกำหนดให้นายจ้างยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.1 ก และ ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เริ่มปี 2567 เป็นต้นไป
ย้อนกลับ
นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “การยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (1) (2) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น เงินเดือนค่าจ้าง ค่าคอมมิชชั่น ที่กรมสรรพากรกำหนดให้นายจ้างที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ และนำส่งภาษี ให้กรมสรรพากรเป็นรายเดือนด้วยแบบ ภ.ง.ด.1 และยื่นแบบสรุปรายปีด้วยแบบ ภ.ง.ด.1 ก หรือ ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ นั้น ปัจจุบันสัดส่วนชองนายจ้างที่ยื่นแบบดังกล่าวผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Filing ระบบ e-Withholding Tax และสื่อฝากไฟล์อิเล็กทรอนิกส์) คิดเป็น ร้อยละ 98 ของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อน Digital Tax Ecosystem ของกรมสรรพากรอย่างเต็มรูปแบบ อำนวยความสะดวกบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ในการตรวจสอบข้อมูลรายได้ผ่านระบบ My Tax Account เพื่อใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 และป้องกันขบวนการทุจริตขอคืนเงินภาษี รวมทั้งการสร้างรายจ่ายเท็จในภาคธุรกิจ
กรมสรรพากรจึงได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 438) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2566 กำหนดให้การยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.1 ก และ ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ ต้องดำเนินการ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ระบบ e-Filing ระบบ e-Withholding Tax และสื่อฝากไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เท่านั้น โดยเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบกับการจ่ายเงินได้เดือนภาษีมกราคม พ.ศ.2567 เป็นต้นไป หากไม่สามารถยื่นแบบดังกล่าวผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการในรูปแบบกระดาษ พร้อมหนังสือถึงกรมสรรพากร ระบุถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่สามารถยื่นแบบผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่สถานประกอบการของนายจ้างที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งอยู่”
โฆษกกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “กรมสรรพากรได้พัฒนาบริการยื่นแบบแสดงรายการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการวางเป้าหมายในการสร้าง Digital Tax Ecosystem อย่างครบวงจร เตรียมความพร้อมสู่ระบบภาษีอากรที่เป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ การกำหนดให้นายจ้างยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.1 ก และ ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายดังกล่าว อีกทั้ง ช่วยยกระดับบริการที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยกรมสรรพากรจะนำข้อมูลเงินได้ที่ได้รับจากนายจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาแสดงบนระบบ My Tax Account ให้ครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และจัดวางข้อมูลบนแบบแสดงรายการภาษีในรูปแบบ Pre-Fill สร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อ (Seamless Experience) ในขั้นตอนการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ให้แก่ผู้เสียภาษี”
ขอบคุณบทความจาก ::
กรมสรรพากร
ประกาศบทความโดย ::
www.prosofterp.com
375
ผู้เข้าชม
สมัครรับข่าวสาร
Get started for free today.
ทดลองใช้งาน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com