ภาษีครึ่งปี เรื่องที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ไว้
ภ.ง.ด. 94 ก.ค. - ก.ย. ของปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน ใช้เสียภาษีเงินได้ครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากรที่ได้รับเงิน
ได้พึงประเมินตั้งแต่เดือน ม.ค. - มิ.ย. ของปีนั้น
ใครบ้างมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปี 2561
การยื่นภาษีครึ่งปีจะทำได้ก็ต่อเมื่อเรามีรายได้เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก คือ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึง 30 มิถุนายนของปีนั้น ๆ มากกว่า 60,000 บาท ในกรณีโสด หรือกรณีมีคู่สมรสต้องมีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท ถึงจะเข้าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด และที่สำคัญก็คือต้องเป็นรายได้ที่มาจากเงินได้ประเภทที่ 5, 6, 7 และ 8 ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งเงินได้ทั้ง 4 ประเภทที่เข้าข่ายต้องยื่นภาษีครึ่งปี มีดังนี้
- ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)
คือ รายได้ที่มาจากการปล่อยเช่าทรัพย์สินทุกประเภทที่เรามี ไม่ว่าเป็น บ้าน ที่ดิน หรือรถยนต์ หรือถ้านำทรัพย์สินของคนอื่นมาปล่อยเช่าต่อก็ถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 5 เช่นกัน
- ค่าวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะว่า "วิชาชีพอิสระ" คือคนที่ทำฟรีแลนซ์ แต่วิชาชีพอิสระ ประกอบด้วย 6 สาขานี้เท่านั้น ได้แก่ แพทย์/พยาบาลที่มีใบประกอบโรคศิลปะ, นักกฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชี และช่างประณีตศิลป์ โดยเงินได้ที่ต้องยื่นภาษี จะอยู่ในรูปของค่าตอบแทนจากการประกอบวิชาชีพอิสระที่มีจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณหรือความยากง่าย หรือสรุปง่าย ๆ คือเป็นรายได้อื่น ๆ ที่เกิดจากการใช้ความรู้ในวิชาชีพ และไม่ใช่เงินเดือนประจำนั่นเอง
- ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ (เงินได้ประเภทที่ 7)
เป็นรายได้ที่มาจากการว่าจ้างรับเหมาที่เราต้องเป็นผู้จัดหาทั้งแรงงาน เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ เองทั้งหมด ตามแบบที่ลูกค้าสั่ง แต่ถ้ามีการรับเหมาแค่ค่าแรง แล้วลูกค้าเป็นคนซื้อวัสดุเองจะไม่ใช่เงินได้ประเภทที่ 7 แต่จะไปเข้าข่ายเงินได้ประเภท 2 ที่เป็นค่าจ้างทั่วไปแทน
- เงินได้อื่น ๆ ที่ไม่เข้าพวก (เงินได้ประเภทที่ 8)
คือ เงินได้ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี และไม่เข้ากลุ่มไหนเลยในเงินได้ทั้ง 7 ประเภท เช่น รายได้จากการเป็นนักร้องดารา รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดก รายได้จากการประกอบธุรกิจในนามบุคคลธรรมดา อย่างเปิดร้านขายอาหาร ร้านตัดผม หรือขายของออนไลน์ก็ด้วย รวมทั้งเงินปันผลที่ได้จากกองทุนรวม ส่วนกรณีที่เราขายกองทุน LTF หรือ RMF ไปในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน หากจำนวนเงินที่ได้รับเกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็ต้องยื่นภาษีด้วยเช่นกัน แม้ว่าการขาย LTF หรือ RMF นั้นจะถูกเงื่อนไข
ตรวจสอบเงินได้ประเภทที่ 5-8 ที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.94 อย่างละเอียดที่เว็บไซต์กรมสรรพากร
ส่วนใครที่มีเงินได้ที่มาจากทางอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินได้ 4 ประเภท ที่บอกมานั้นไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน ค่าจ้างทั่วไป ค่าลิขสิทธิ์ ดอกเบี้ยและเงินปันผล แม้จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกก็ตาม สบายใจได้เพราะไม่ต้องมีหน้าที่ไปยื่นภาษีครึ่งปีให้ยุ่งยาก รอยื่นทีเดียวได้ตอนปลายปีเลย
ยื่นภาษีครึ่งปี 2561 ได้ถึงเมื่อไหร่
โดยปกติแล้ว ภาษีครึ่งปีจะเปิดให้ยื่นประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมของปีนั้น ๆ ส่วนการยื่นภาษีครึ่งปี 2561 นั้น กรมสรรพากรเปิดให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง ธนาคารพาณิชย์ไทย และที่ทำการไปรษณีย์ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2561
แต่สำหรับใครที่ต้องการยื่นผ่านระบบออนไลน์ กรมสรรพากร ก็ได้ขยายเวลาให้ยื่นแบบแสดงภาษีครึ่งปี 2561 ได้จนถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2561 ผ่านทาง https://epit.rd.go.th/publish/index.php
ลดหย่อนภาษีครึ่งปี 2561 ได้เหมือนปลายปีไหม ?
เป็นอีกจุดหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการยื่นภาษี นั่นคือ "ค่าลดหย่อน" เพราะเป็นสิทธิประโยชน์ที่ช่วยทำให้เราเสียภาษีน้อยลง หรืออาจจะไม่ต้องเสียเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่ามีรายการอะไรบ้างที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีได้ ซึ่งการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในช่วงครึ่งปี สามารถแบ่งรูปแบบการลดหย่อนภาษีให้เข้าใจง่าย ๆ ได้เป็น 3 กลุ่มตามนี้
1. กลุ่มที่ลดหย่อนได้ครึ่งเดียวของการใช้สิทธิเต็มปี
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ลดหย่อนได้ 30,000 บาท (เต็มปี 60,000 บาท)
- คู่สมรสไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้เฉพาะมาตรา 40 (1)-(4) ลดหย่อนได้ 30,000 บาท (เต็มปี 60,000 บาท)
- คู่สมรสมีเงินได้ มาตรา 40 (5)-(8) ถ้าคำนวณภาษีรวมกัน นำไปหักลดหย่อนส่วนตัวได้ 30,000 บาท และหักลดหย่อนคู่สมรสของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท แต่ถ้าแยกกันยื่นภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนส่วนตัวฝ่ายละ 30,000 บาท แต่จะหักลดหย่อนส่วนของคู่สมรสอีกไม่ได้
- ค่าเลี้ยงดูบุตร ได้คนละ 15,000 บาท (เต็มปี 30,000 บาท)
- ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา ได้คนละ 15,000 บาท (เต็มปี 30,000 บาท)
- ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ได้คนละ 15,000 บาท (เต็มปี 30,000 บาท)
- ค่าเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ ได้คนละ 30,000 บาท (เต็มปี 60,000 บาท)
2. ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงในช่วงครึ่งปีแรก แต่ยอดลดหย่อนสูงสุดจะน้อยกว่าแบบเต็มปี
กลุ่มนี้จะเป็นการลดหย่อนโดยใช้เบี้ยประกันชีวิต และลดหย่อนจากดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งทั้งสองส่วนสามารถใช้สิทธิได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 95,000 บาท ซึ่งน้อยกว่าแบบเต็มปีที่ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
สรุปแล้วจะเห็นว่าไม่ใช่ทุกคนที่มีรายได้ แล้วต้องยื่นภาษีครึ่งปีกันหมด เพราะกฎหมายกำหนดไว้ให้เฉพาะคนที่มีรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด และต้องเป็นเงินได้ประเภท 5, 6, 7, 8 เท่านั้น หากใครที่เข้าข่ายแต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ก็รีบไปยื่นได้เลย ส่วนใครที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องยื่นภาษีครึ่งปีหรือเปล่า หรืออยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ก็สามารถสอบถามได้ที่ กรมสรรพากร โทร. 1161
- ดาวน์โหลด แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94)
***ที่มา https://money.kapook.com/view179606.html