• Home

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • การออกเอกสารที่มีรายการคำว่า ใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (อย่างย่อ) ต้องเป็นแบบใด

การออกเอกสารที่มีรายการคำว่า ใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (อย่างย่อ) ต้องเป็นแบบใด

  • Home

  • Blog

  • กฎหมาย/ภาษี

  • การออกเอกสารที่มีรายการคำว่า ใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (อย่างย่อ) ต้องเป็นแบบใด

การออกเอกสารที่มีรายการคำว่า ใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (อย่างย่อ) ต้องเป็นแบบใด

เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./73

วันที่ : ลว. 5 มกราคม 2561

เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกเอกสารที่มีรายการคำว่า “ใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (อย่างย่อ)”

ข้อกฎหมาย : มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ  1. นาย ณ. ประกอบกิจการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น โดยมิได้เป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับผู้ค้ารายใด น้ำมัน เชื้อเพลิงส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับลูกค้าที่เป็นส่วนราชการท้องถิ่นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานการรับเงินในระยะแรก (ประมาณปี 2552) เป็นบิลส่งของชื่อร้าน โดยส่งมอบต้นฉบับให้กับส่วนราชการ สำเนาติดไว้กับเล่ม เมื่อใช้หมดเล่มก็ไม่ได้เก็บเอกสารไว้แต่อย่างใด

2. ต่อมา มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นมาติดต่อเติมน้ำมันและแจ้งว่า หากตกลงจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงกับหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น จะต้องออกเอกสารตามตัวอย่างที่นำมาให้ซึ่งเป็น เอกสารที่มีรายการคำว่า “ใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (อย่างย่อ)” โดยในเอกสารที่พิมพ์มามีรายการ ดังนี้
(1) รายการคำว่า “ใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (อย่างย่อ)”
(2) รายการ “เล่มที่ เลขที่”
(3) รายการ ชื่อร้าน
(4) รายการ ที่อยู่ “47 ตำบลบ้านเหลื่อม อำเภอบ้าน จังหวัดนครราชสีมา”
(5) รายการ “หมายเลขโทรศัพท์
(6) รายการ “เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
(7) รายการ “วันที่ เดือน พ.ศ.”
(8) รายการ “ได้รับเงินจาก”
(9) รายการ “น้ำมันที่จำหน่าย”
(10) รายการ “รวมเงิน” (ไม่มีช่องรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มีข้อความระบุว่า“ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว”)

3. นาย ณ. นำไปพิมพ์เพื่อใช้เป็นบิลเงินสดออกให้กับส่วนราชการตามจำนวนราคาน้ำมันที่เติม ไม่มีเจตนาที่จะออกเอกสารเป็นใบกำกับรายการตามเอกสารดังกล่าวภาษีและไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีอื่นใดเพิ่มเติม เมื่อส่วนราชการจ่ายเงินค่าน้ำมันจะหักภาษี ณ ที่จ่าย และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ทุกคราว และได้นำยอดขายดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว สำหรับเอกสาร “ใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (อย่างย่อ)”นั้นได้สั่งพิมพ์มานวน 50 เล่ม นำมาใช้โดยไม่เรียงเล่มและไม่มีการจัดเก็บเอกสาร อีกทั้งไม่ได้นำยอดขายตามสำเนาอกสารที่ติดเล่มอยู่ไปลงรายการในรายงานภาษีขาย หรือลงรายการในบัญชีอื่นใด และไม่ได้นำไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) แต่อย่างใด นอกจากนำไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและที่ผ่านมาไม่ได้พิมพ์หรือออกเอกสารใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

แนววินิจฉัย นาย ณ. มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ออกเอกสารให้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงินและมีเจตนาเพียงใช้เป็นบิลเงินสด โดยเอกสารมีข้อความว่า“ใบกำกับภาษี/บิลเงินสด (อย่างย่อ)” แต่หากนาย ณ. ไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ และผู้ซื้อไม่ได้นำไปใช้เพื่อเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความว่า “ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว”เอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร อนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการในการประกอบกิจการ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในประเด็นดังกล่าวอีกต่อไป


เลขตู้ : 81/40535


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th  หรือ Click
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 941
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores