• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811(กม.07)/1895 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับจ้างบริหารโรงแรมของบริษัทต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0811(กม.07)/1895 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับจ้างบริหารโรงแรมของบริษัทต่างประเทศ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811(กม.07)/1895 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับจ้างบริหารโรงแรมของบริษัทต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0811(กม.07)/1895 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับจ้างบริหารโรงแรมของบริษัทต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม.07)/1895

วันที่ : 22 ธันวาคม 2543

เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับจ้างบริหารโรงแรมของบริษัทต่างประเทศ

ข้อกฎหมาย : มาตรา 76 ทวิ, มาตรา 3 เตรส

ข้อหารือ : บริษัท ก. จำกัด เป็นบริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ได้ทำสัญญาจ้างบริหารโรงแรม กับ
บริษัท ข. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายของประเทศฮ่องกง โดยจ่ายค่าธรรมเนียม
การบริหารอัตราปกติ (Basic Management Fee) ค่าธรรมเนียมอัตราพิเศษ (Incentive Fee)
และชดใช้ค่าใช้จ่ายการสำรองห้องพักแบบส่วนกลาง บริษัท ก. หักภาษีเงินได้ไว้ในอัตราร้อยละ 15
ของยอดรายรับนำส่งกรมสรรพากรตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนตรวจสอบภาษีได้ตรวจสอบ
สัญญาบริหารโรงแรมแล้วมีความเห็นว่า บริษัทต่างประเทศรับจ้างบริหารโดยเก็บค่าธรรมเนียม
การบริหารและเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหาร ถือว่าประกอบกิจการในประเทศไทย จะต้องเสียภาษี
ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จึงหารือว่าความเห็นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย : การที่บริษัท ข. ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศฮ่องกง ได้เข้ามาบริหารกิจการ
โรงแรมให้แก่บริษัท โรงแรม ก. ตามสัญญาที่ทำไว้ โดยบริษัท ข. เป็นผู้มีอำนาจควบคุมกิจการโรงแรม
การให้บริการ การรักษามาตรฐานโรงแรม ควบคุมรายรับรายจ่ายทุกชนิด คัดเลือกและอบรมพนักงาน
ส่งเสริมการขายและการตลาด และกระทำการอื่น ๆ ตามสัญญา โดยบริษัท ข. จัดให้มีตัวแทนเจรจา
ติดต่อสื่อสารในการดำเนินงานต่าง ๆ จัดให้มีพนักงานฝ่ายบุคคลประจำอยู่สำนักงานเป็นช่วงระยะเวลา
เพื่อพิจารณาทบทวนแผนงาน ให้คำแนะนำและหาทางแก้ปัญหาในการบริหารงานหรือปรับปรุงการบริหาร
งานให้ดีขึ้น และลูกจ้างของบริษัท ข. เป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในการทำรายการเบิกถอนจากบัญชี
บริหารงานโรงแรม โดยได้รับค่าตอบแทน ได้แก่
1. ค่าธรรมเนียมการบริหารอัตราปกติ ร้อยละ 2 ของรายได้ทั้งหมดสำหรับ 5 ปีแรกของ
การดำเนินการ และร้อยละ 2.5 ของรายได้ทั้งหมดของปีถัดไป
2. ค่าธรรมเนียมอัตราพิเศษ ร้อยละ 10 ของรายได้รวมก่อนหักค่าใช้จ่ายคงที่
3. ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด
4. ค่าใช้จ่ายการสำรองห้องพักแบบส่วนกลาง และ
5. ค่าใช้จ่ายเบิกชดเชย ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด นั้น ถือว่าบริษัท ข. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศ
มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับ
เงินได้ในประเทศไทย จึงถือว่าบริษัท ข.ประกอบกิจการในประเทศไทย และถือว่าบุคคลผู้เป็นลูกจ้าง
หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อเป็นตัวแทนของบริษัท ข. เป็นผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่น
รายการและเสียภาษีแทนบริษัท ข. ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
และโดยที่บริษัท ก. จ้างบริษัท ข. เข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมก็เพื่อหวังผลสำเร็จในการ
ประกอบกิจการของบริษัท ก. โดยอาศัยความสามารถความเชี่ยวชาญในการบริหารงานของบริษัท ข.
เพื่อให้กิจการโรงแรมของบริษัท ก. เป็นไปด้วยดี ดังนั้น เงินที่บริษัท ก. จ่ายให้บริษัท ข.เพื่อ
ผลสำเร็จแห่งการงานที่บริษัท ข. จะบริหารโรงแรมให้ จึงถือเป็นเงินค่าจ้างทำของ และแม้บริษัท ก.
จะเรียกเงินที่จ่ายให้บริษัท ข. ว่าเป็นค่าธรรมเนียม หรือเงินจ่ายคืนให้สำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัท ข. ได้
ทดรองจ่ายแทนไปก็ตาม แต่แท้จริงเงินดังกล่าวล้วนเป็นค่าจ้างทำของทั้งสิ้น เทียบเคียงได้กับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 4925/2533 สรุปความว่า โจทก์จ่ายค่าตอบแทนให้บริษัท ฮ. ตามสัญญาจ้างให้บริหาร
กิจการโรงแรมของโจทก์ แม้โจทก์จะเรียกว่าค่าธรรมเนียม ค่าการตลาด หรือเงินจ่ายคืนให้บริษัท ฮ.
สำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัท ฮ. ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก่อนก็มีความหมายอย่างเดียวกับค่าจ้างทำของ
ดังนั้น เมื่อบริษัท ก. จ่ายค่าจ้างทำของตามสัญญาบริหารโรงแรมให้กับบริษัท ข.ซึ่งเป็น
บริษัทต่างประเทศ และได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัท ก. จึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ : 63/30071



ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th 
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 1613
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores