• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/12650 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0811/12650 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/12650 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0811/12650 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ : กค 0811/12650

วันที่ : 16 ธันวาคม 2542

เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อกฎหมาย : มาตรา78(1)(ก), มาตรา79, มาตรา86/4

ข้อหารือ : บริษัท A จำกัด และบริษัท B จำกัด ได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้ดำเนิน
กิจการจัดตั้งและประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม บริษัททั้งสองได้ทำสัญญาร่วมกันปฏิบัติการแบบ
พันธมิตร (Operating Alliance) เพื่อบรรเทาภาระการขาดทุนอันเนื่องจากการตกต่ำลงเป็น
อย่างมากของค่าการกลั่นน้ำมันทั่วโลก และสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของประเทศไทย ในการร่วม
ปฏิบัติการแบบพันธมิตร บริษัททั้งสองจะแบ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการกลั่นแล้วบริษัทละครึ่งหนึ่งเสมอ และ
บริษัททั้งสองจะขายผลิตภัณฑ์ที่ได้รับนั้นแยกจากกัน ทั้งนี้แม้ว่าในบางขณะโรงกลั่นใดโรงกลั่นหนึ่งมี
ความจำเป็นต้องปิดชั่วคราวเพื่อทำการซ่อมแซม ทำให้จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการกลั่นลดลง บริษัท
ทั้งสองก็ยังคงแบ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้บริษัทละครึ่งหนึ่งเช่นกัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากบริษัท A มีความต้องการ
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อขายมากกว่าส่วนแบ่งที่ได้รับจากการผลิตตามสัญญาการปฏิบัติการแบบพันธมิตร
ดังนั้น บริษัท B จึงต้องโอนกรรมสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไปให้แก่บริษัท A ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ใน
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปนั้นไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์น้ำมันระหว่างบริษัททั้งสอง บริษัท B จึงไม่มี
หน้าที่จะต้องนำส่งภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 10(1) แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
บริษัททั้งสองหารือว่าภาษีสรรพสามิตที่ยังไม่เกิดขึ้นนี้ จะต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตาม
มาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ หากต้องนำภาษีสรรพสามิตที่ยังไม่เกิดขึ้นมารวมคำนวณเป็น
มูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัท B สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษี/
ใบแจ้งหนี้ในฉบับเดียวกันเพื่อเรียกเก็บเงินจากลูกค้า ไปประกอบการพิจารณาได้หรือไม่

แนววินิจฉัย : 1. กรณีบริษัท B ขายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปให้แก่บริษัท A โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บริษัท
A แต่ไม่มีการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน บริษัท B ไม่ได้นำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกจากโรง
อุตสาหกรรม หรือไม่ได้นำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ความรับผิดในอันจะต้องเสีย
ภาษีสรรพสามิตเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามมาตรา 10 (1)
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 แห่ง
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 เมื่อบริษัท B ขายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปให้แก่บริษัท
A โดยไม่มีการส่งมอบสินค้าแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้น
เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า ตามมาตรา 78(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นความรับผิดในอันจะ
ต้องเสียภาษีสรรพสามิตของบริษัท B จึงเกิดขึ้นพร้อมกับการโอนกรรมสิทธิ์ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปด้วย
2. ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้ง
ภาษีสรรพสามิตตามที่กำหนดในมาตรา 77/1(19) แห่งประมวลรัษฎากร ถ้ามี ด้วย ดังนั้น บริษัท B
ต้องนำภาษีสรรพสามิตมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรด้วย
3. บริษัท B สามารถจัดทำเอกสารใบกำกับภาษี/ใบแจ้งหนี้ ในเอกสารฉบับเดียวกันได้
แต่ใบกำกับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งหากบริษัท B จะระบุ
รายการอื่น ๆ นอกเหนือจากรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เพิ่มเติมในใบกำกับภาษี
ก็สามารถกระทำได้

เลขตู้ : 62/28708


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th 
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 698
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores