• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/16809 ภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0811/16809 ภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/16809 ภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0811/16809 ภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ : กค 0811/16809

วันที่ : 9 ธันวาคม 2541

เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อกฎหมาย : มาตรา 3 เตรส, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ

ข้อหารือ : บริษัท เอ และบริษัท บี ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศมาเลเซีย ได้ร่วมกันจัดตั้ง
บริษัท ซี โดยจดทะเบียนในประเทศมาเลเซียขึ้น และมีสำนักงานอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ เพื่อทำหน้าที่เป็น
ผู้ดำเนินการ (Operator) และมีฐานะเป็นผู้รับจ้างอิสระ (Independent Contractor)เพื่อทำงาน
ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย และกรมสรรพากรได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทฯ ทราบว่า กรณีที่บริษัท ซี
จ่ายค่าจ้างให้กับผู้รับจ้างสัญชาติไทย หรือมาเลเซีย ซึ่งเข้ามาทำงานในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมฯ นั้น
เนื่องจากการจ่ายค่าจ้างดังกล่าวเป็นการจ่ายจากหรือที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท ซี ในประเทศมาเลเซีย
และโดยที่บริษัท ซี เข้ามาทำงานในประเทศไทยเฉพาะในบริเวณไหล่ทวีปเท่านั้น ดังนั้น บริษัท ซี จึง
ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน
พ.ศ. 2528 แต่อย่างใด แต่เนื่องจากผู้รับจ้างซึ่งเข้ามาทำงานในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมฯ มีหน้าที่ต้องเสีย
ภาษีเงินได้ในประเทศไทย ดังนั้น หากบริษัท ซี จะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากรตาม
คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวไว้ ก็จะเป็นการสะดวกและบรรเทาภาระภาษีให้กับผู้รับจ้าง ซึ่งผู้รับจ้าง
สามารถนำภาษีที่ถูกหักไว้ไปเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยนั้น บริษัท เอ ได้พยายาม
ติดตามให้บริษัท ซี รวบรวมรายชื่อผู้รับจ้างเพื่อที่จะได้ให้ผู้รับจ้างเข้ามาทำการยื่นแบบแสดงรายการเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถูกต้อง และในกรณีที่ผู้รับจ้างยินยอม
บริษัท ซี ก็จะหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายไว้ อย่างไรก็ดี บริษัท เอ ได้ตรวจพบว่าสัญญาว่าจ้างที่
บริษัท ซี ทำกับผู้รับจ้างนั้น ในบางสัญญา บริษัท ซี มีฐานะเป็นตัวแทนของบริษัท เอ จึงขอทราบว่า ใน
กรณีที่บริษัท ซี จ่ายค่าจ้างให้กับผู้รับจ้างตามสัญญาซึ่งบริษัท ซี มีฐานะเป็นตัวแทนของบริษัท เอนั้น บริษัท
ซี จะมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ หรือไม่อย่างไร

แนววินิจฉัย : ในกรณีที่บริษัท ซี มีฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทฯ นั้น แม้ว่าบริษัท ซี จะจ่ายเงินค่าจ้างให้
กับผู้รับจ้างโดยเป็นการจ่ายที่หรือจากสำนักงานของบริษัท ซี ในประเทศมาเลเซียก็ตาม แต่โดยที่การ
จ่ายเงินนั้นเป็นการจ่ายแทนบริษัทฯ ซึ่งเป็นตัวการที่ประกอบกิจการอยู่ในประเทศไทย และมีหน้าที่ต้องหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ดังนั้น เมื่อบริษัท ซี จ่ายค่าจ้างให้กับ
ผู้รับจ้างซึ่งเข้ามาทำงานในพื้นที่พัฒนาร่วมฯ บริษัท ซี จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แทน
ตัวการตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว

เลขตู้ : 61/27330


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th 
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 657
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores