เลขที่หนังสือ | : กค 0811/16531 |
วันที่ | : 1 ธันวาคม 2541 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 65 ทวิ (5), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540ฯ |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ เป็นบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยมีรายได้จากการประกอบกิจการทั้งที่ ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯ มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่ม ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม และสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม ของปีถัดไปในรอบระยะเวลาบัญชี 21 พฤษภาคม 2540 – 20 พฤษภาคม 2541 บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มีค่า หรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเป็นเงินตราไทยตาม มาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯ บริษัทฯ สามารถจะเลือกนำผลขาดทุนดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ ได้ตามวิธีใดวิธีหนึ่งที่ ระบุไว้ในคำสั่งดังกล่าว เป็นเหตุให้บริษัทฯสามารถนำผลขาดทุนดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นรายจ่ายของ บริษัทฯ ได้มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สิน ดังกล่าวเป็นส่วนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือเป็นส่วนของกิจการที่ไม่ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯจึงเฉลี่ยผลขาดทุนดังกล่าวตามอัตราส่วนของรายได้จากกิจการที่ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน หากข้อเท็จจริงของบริษัทฯ เป็นดัง ตัวอย่างต่อไปนี้คือ 1. ในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2541 บริษัทฯ มีผลขาดทุนจาก การตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สินตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง จำนวน 500 ล้านบาท 2. อัตราส่วนระหว่างรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2541 คือ 10 : 90 3. บริษัทฯ เลือกที่จะเฉลี่ยผลขาดทุนดังกล่าวเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ เป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ผลขาดทุนที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 20 พฤษภาคม 2541 คือ 100 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นผลขาดทุนจากกิจการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 10 ล้านบาท และ ผลขาดทุนจากกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 90 ล้านบาท บริษัทฯ จึงขอทราบว่า สำหรับผลขาดทุนที่เหลือจำนวน 400 ล้านบาทที่จะนำมาเป็น ค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ สำหรับ 4 รอบระยะเวลาบัญชีถัดไป คือ รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 20 พฤษภาคม 2542 – 20 พฤษภาคม 2545 บริษัทฯ จะต้องนำผลขาดทุนดังกล่าวไปเฉลี่ยตามอัตราส่วนของรายได้ จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และรายได้จากกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนของ รอบระยะเวลาบัญชีแรก (วิธีที่ 1 ตามตารางข้างล่าง) หรือให้นำมาเฉลี่ยตามอัตราส่วนของรายได้จาก กิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน และกิจการที่ไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปี (วิธีที่ 2 ตามตารางข้างล่าง) ถ้าหากว่าวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 ไม่ถูกต้อง บริษัทฯ จะต้องใช้วิธีการใด การบันทึกผลขาดทุน รอบระยะเวลาบัญชี อัตราส่วนรายได้จาก วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 สิ้นสุด BOI : Non BOI BOI : Non BOI รวม BOI : Non BOI รวม 20 พ.ค.2541 10 : 90 10 : 90 100 10 : 90 100 20 พ.ค.2542 20 : 80 10 : 90 100 20 : 80 100 20 พ.ค.2543 30 : 70 10 : 90 100 30 : 70 100 20 พ.ค.2544 40 : 60 10 : 90 100 40 : 60 100 20 พ.ค.2545 50 : 50 10 : 90 100 50 : 50 100 รวม 50 : 450 500 150 : 350500 |
แนววินิจฉัย | : 1. บริษัทฯ มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นวันที่ 21 พฤษภาคม และสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม ดังนั้น ในรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2541 บริษัทฯ มีผล ขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้าย ของรอบระยะเวลาบัญชีเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน 500 ล้านบาท บริษัทฯ จึงมีสิทธิที่จะเลือกคำนวณกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือ หนี้สินตามส่วนเฉลี่ยของมูลค่าทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกดังกล่าวเป็นต้นไป แต่ ไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีสิทธิเฉลี่ยผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สินเป็นรายจ่ายได้ รอบระยะเวลาบัญชีละ 100 ล้านบาท ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 20 พฤษภาคม 2541 ถึง รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 20 พฤษภาคม 2545 ตามข้อ 3 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเนื่องจาก การปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 2. กรณีบริษัทฯ ไม่สามารถแยกได้โดยชัดแจ้งว่าผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือ หนี้สิน จำนวน 500 ล้านบาท ดังกล่าวเป็นส่วนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือเป็นส่วนของ กิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และไม่มีเกณฑ์อื่นที่จะเฉลี่ยรายจ่ายนั้นได้เป็นการเหมาะสมแล้ว ก็ให้เฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวออกตามส่วนของรายได้จากกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ กิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2541 ดังนั้น ในการใช้สิทธิเฉลี่ยผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทฯ รอบระยะเวลาบัญชีละ 100 ล้านบาท ตาม 1. จึงเป็นผลขาดทุนจากกิจการส่งเสริมการลงทุน 10 ล้าน บาท และผลขาดทุนจากกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริม 90 ล้านบาท เท่ากันทั้งห้ารอบระยะเวลาบัญชี ตามตัวอย่างวิธีที่ 1 ข้างต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2542 ถึงรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 จะมีอัตราส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปีเป็น อย่างไร |
เลขตู้ | : 61/27302 |